Tuesday 7 June 2016

วิธีการที่จะได้มาซึ่งข้อมูลที่จะใช้ในการประเมินผลกิจกรรม


ก่อนจะไปถึงการรายงานผล หรือ สรุปผลรายงานกิจกรรมต่างๆ เรามาดูถึงวิธีการได้มาซึ่งการประเมินผล จนนำไปสู่รายงานหรือ การระบุข้อมูลการเก็บผลในรายงาน คือ วิธีการที่จะได้มาซึ่งข้อมูลในการประเมิน

การประเมิน แบ่งออกเป็น การประเมินตัวกิจกรรม และ การประเมินผู้เข้าร่วมกิจกรรม

วิธีการที่จะได้มาซึ่งข้อมูลที่จะใช้ในการประเมินทั้ง 2 ส่วน ได้แก่ การตั้งเกณฑ์การประเมินผล การวัดผล และ การติดตามผล


  • การจดบันทึก 
ซึ่งเราจะต้องตั้งขอบเขตของการประเมิน หรือ สร้างแบบฟอร์ม แล้วจึงทำการประเมินไปตามกรอบการประเมินนั้น โดยมีบันทึกขอบเขตและบันทึกผลการประเมิน
  • การสังเกตุพฤติกรรม 
โดยตั้งข้อสังเกตุ ที่สังเกตุได้ ก่อนการจัดกิจกรรมและหลังกิจกรรม อันนี้จะต้องสอดคล้องกับเป้าหมายของกิจกรรม อาจมีนอกเหนือไปบ้าง แต่ก็ไม่เลยขอบเขตจุดประสงค์ที่จัดทำกิจกรรม

  • การถ่ายวีดิทัศน์ หรือ อัดเทป 
ทำการอัดเทปในกิจกรรมที่เราได้จัดไปแล้วมาฉาย หรือ ฟังซ้ำ เพื่อประกอบการประเมิน

  • การสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง

ทำการสัมภาษณ์กับผู้ถูกประเมินและผู้ประเมินหรือ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เช่น สัมภาษณ์หัวหน้าเขา ลูกน้องเขา หรือ ลูกค้าของเขา เป็นต้น

  • วิเคราะห์จากเอกสาร 
เอกสารที่ว่านี้ได้แก่ เอกสารที่ใช้ในการทำกิจกรรม หรือ เสนอมาจากกิจกรรม หรือ รายงานต่างๆ ในกิจกรรม เป็นต้น

  • ประเมินจากสภาพแวดล้อม 

สภาพแวดล้อมโดยทั่วๆไป ได้แก่ สภสพการจัดพื้นที่อบรม สภาพการจัดกิจกรรม ความเหมาะสมของสภาพแวดล้อม แสง สี เสียง หรือ สิ่งรบกวนต่างๆ เป็นต้น

มาดูที่ ปัญหาอุปสรรคของการประเมินผลกันบ้างว่าจะมีอะไรบ้าง ที่ทำให้วิธีการต่างๆ ข้างต้นไม่สัมฤิทธิ์ผลเท่าที่ควร 


  1. การไม่กำหนดขอบเขตหรือ ไม่คิดหาเกณฑ์การวัดผล หรือตั้งเกณฑ์สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม 
  2. ระยะเวลาไม่เพียงพอทำให้กิจกรรมไม่สมบูรณ์ การประเมินทำได้ไม่ทันการณ์ 
  3. ไม่มีการวางแผนจะนำเอาผลไปใช้
  4. มีการประเมินอย่างไม่เป็นระบบ สะเปะสะปะ 
  5. ไม่ประเมินอย่างต่อเนื่อง 
นี่หละค่ะ หากเราพลาดข้อนี้ การรายงานผล หรือ การจัดทำรายงานก็ไร้ประสิทธิภาพ รายงานเราจะไม่ได้บอกคุณประโยชน์ใดๆ ต่อกิจกรรมหรือ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเลย นอกจาก เสียเวลา ดังนั้น คิดให้รอบคอบ ครบวงจรก่อนค่ะ

ทีนี้เราได้เข้าสู่การจัดทำรายงานและ โครงการกันจริงๆ แล้วนะคะ ....

 


Friday 26 February 2016

การดำเนินการฝึกอบรม และการประเมินผล วัดผล และ ติดตามผล

เริ่มต้นด้วยก่อนการเปิดการอบรม เราต้องกำหนดดังนี้

1. กำหนดหลักสูตร ประกอบด้วย  (อันนี้คือ เราต้องรู้จุดประสงค์และเป้าหมายการอบรมจากข้อมูลเบื้องต้นมาแล้ว) 

  • หัวข้อการอบรมประกอบด้วยอะไรบ้าง 
  • กำหนดการอบรม เวลา และ ลำดับกำหนดการ
  • วิทยากรและประวัติวิทยากร 
  • สถานที่อบรม  ห้องอบรม
  • เครื่องมือ เครื่องใช้ในการอบรม 
  • เครื่องดิ่ม และ ของว่าง 
  • แบบสอบถาม แบบทดสอบต่างๆ 
  • ผู้ช่วยประานงานในการอบรม 
  • แบบประเมินการอบรม
  • การรายงานผลการอบรม
  • ภาพถ่าย 

2. หน่วยงานเกี่ยวข้อง ในการอบรม มีการจัดเตรียมเพื่อยืนหลักสูตรให้แก่ กรมพัฒนาฝีมือแรงงานด้วยหรือไม้ หากใช้ร่วมกัน การกำหนด หรือ จัดทำ ข้อ 1 ต้องสอดคล้องกับระเบียบและเอกสารแบบฟอร์มของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ในส่วนนี้ขอ Limk URL งานฝึกอบรมตามแบบกรมพัฒฯ ไว้ก่อน จบบทแล้ว ผู้เขียนจะ บอกระเบียบและ ให้วิธีการกรอกแบบ ตัวอย่างทั้งหมด รวมถึงระเบียบการจัดทำตามเกณฑ์ของกรมฯ ในตอนต่อๆ ไป (คงอีกหลายตอนค่ะ)


3. การประเมินผล การวัดผล และ การติดตามผล คืออะไร?

3.1 การวัดผล และการประเมินผล คือ กระบวนการในกรที่เรากำหนดค่าตัวเลขเป็นเกณฑฺ์ต่างๆ กับเหตุการณ์ต่างๆ อย่างมีหลักเกณฑ์ การเปรียบเทียบผลกับเป้าหมายอย่างมีหลักมีเกณฑ์เช่นกัน โดยใช้ การประเมิน ค่านิยมกับดุลพินิจความคาดหวังที่ได้รับ ตามวั๖ถุประสงค์ที่ตั้งหรือ คาดหวังไว้


3.2 การติดตามผล คือ ขั้นตอนภายหลังการฝึกอบรมผ่านไปแล้ว ระยะหนึ่ง แล้วองค์กร ต้องการทราบว่า โครงการที่จัดในการพัฒนาบุคลากรไปได้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการหรือไม่ ได้แก่


  • เป็นประโยชน์ต่องานหรือไม่ อย่างไร 
  • เป็นประโยชน์ใดๆ ต่อผู้อบรมหรือไม่ ระดับใด 
  • มีผลต่อหน่วยงานหรือไม่ อย่างไร มากขึ้น เลวลง หรือ ไม่มีผลใดๆ เลย 
  • ผู้ได้รับการอบรมไปแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการทำงานให้หน่วยงานหรือไม่ อย่างไร 
ได้รับการติดตามเบื้องต้น 4  ประเด็นข้างต้นนี้ก็หรูแล้วหละค่ะ

4. ทำไมต้องมีการประเมิน 

เคยมีคำถามมั้ย ทำไมต้องมีการประเมินผลด้วย ไม่ทำได้มั้ย ตอบว่าได้ค่ะ ถ้าแต่อบรมไปตามหน้าที่คือ สักแต่ว่าทำเพื่อยื่นกรมฯ อย่างเดียว แต่ถ้าเพื่อความคุ้มค้่าในการลงทุนต่อการพัฒนามนุษย์ และ เอาสัดส่วนมาทำ KPI วัด Ratio การพัฒนามนุษย์ต่อผลกำไร ต่อการลงทุน ก็ควรติดตามและประเมินผลกันบ้างค่ะ (แต่ไม่แน่นะคะ ผบ. บางท่านก็ไม่ค่อยอยากรู้ เพราะไม่อยากเสียเงินพัฒนาคน ก็มีค่ะ เคยประสบมาเหมือนกัน)   


เหตุผลที่ควรทำการประเมินคือ ....
  • ต้องการทราบความสัมฤทธิผลของโครงการอบรม หรือ การเล่นเกมส์พัฒนามนุษย์ 
  • ต้องการทราบจุดบกพร่อง ข้อดี ข้อเสีย ความเหมาะสมของกิจกรรม ปัญหาอุปสรรคของกิจกรรม 
  • ต้องการทราบความคุ้มค่าของกิจกรรม ประโยชน์จริงๆ การได้นำไปใช้ในงานจริงๆ 
  • ต้องการทราบพฤติกรรมที่เห็นจากการอบรมในตัวบุคลากร จุดเด้่น จุดด้อย ความสามารถมากน้อย
  • ผู้บริหารกับการบริหารทีมงาน นำไปสู่การพัฒนา เครื่องมือที่จะนำไปใช้ในอนาคตเพื่อการบริหารงาน   


5. ใครเป็นผู้ประเมิน 

เราสามารถให้บุคคลเหล่านี้ประเมินได้หมด แต่ต้องเกี่ยวข้องกับกิจกรรม เกมส์ และ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้เข้าอบรม  ได้แก่

  • ผู้จัดเกมส์ ผู้จัดอบรม หรือ กิจกรรม หน. โครงการ 
  • ผู้ถ่ายทอด วิทยากร ผู้นำเกมส์
  • หัวหน้างาน
  • แผนกหรือฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 
  • ลูกค้า และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ 


6. ประเมินอะไร ประเภทไหน   

ทีนี้มาสู่ส่วนสำคัญว่าแล้วจะประเมินอะไร เพราะลักษณะการประเมินจาก แต่ละส่วนข้างต้น มีมุมมองการประเมินไม่เหมือนกันนะคะ

6.1 เนื้อหา   ควรมีการประเมินเนื้อหา จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการประเมินส่วนนี้ สาระที่ได้จัดเตรียมมีความเหมาะสม ประโยชน์ประยุกค์ใช้ภายหลังการอบรมได้หรือไม่ ก็มาจากจุดนี้ก่อน

6.2 บรรยากาศ ได้แก่ การประเมินความพร้อมของสถานที่ การเล่นเกมส์ การควบคุมเกมส์ เวลาที่ใช้ไป สื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ และ การบริหารบรรยากาศ กับ การบริหารเกมส์

6.3  ผลของการเรียนรู้  ส่วนนี้ประเมินเขารับรู้และแจ้งว่าได้รับความรู้แค่ไหน เข้าใจแค่ไหน มากน้อยอย่างไร มีทัศนคติอย่างไร และ คิดเห็นต่อกิจกรรมอย่างไร มีข้อแนะนำใดๆ ที่ต้องการเสนอบ้าง

6.4 พฤติกรรม คือ การประเ้มินในรูปแบบแะ เปรียบเทียบถึงสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คือ ก่อนการอบรม และ หลังการอบรมเป็นอย่างไร มีความก้าวหน้าไปหรือไม่อย่างไร

6.5 ผลลัพภ์ หรือ ผลกระทบ คือ การประเมินประสิทธิผลหรือการอบรมในแง่ของผลที่วัดได้ภายหลังการอบรม เช่นยอดขาย คะแนน เป็นต้น


7. ข้อมูลที่จะจัดเก็บจากการประเมินผล

ในการจะทำการประเมินมีรูปแบบการประเมินหลากหลาย สามารถเก็บข้อมูลได้จากวิธีการต่างๆ ดังนี้

  • แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังการอบรม (Pre Test & Post Test) 
  • การสัมภาษณ์ ( Interview) 
  • การสังเกตุการณ์  ( Observation)
  • การฝึกปฏิบัติ (Practice) 
  • ให้ทำแบบฝึกหัด (Exercise)
  • แบบสอบถาม ( Questionnaire)   
  • แผนปฏิบัติการของผู้เข้าอบรม แบบสมมุติคำถาม จำลองเหตุการณ์
  • ผลที่ได้จากการทำงาน เช่น ตัวเลข การสอบถามจากผู้ใช้บริการ เป็นต้น 
 ทั้งหมดนี้ก็วกแบบไปที่ 6 เป็นกลุ่มๆ ของการหาข้อมูล 5 ด้านมาประกอบการประเมิน

บทต่อไป จะลำดับขั้นตอนการประเมินตลอดไปจนถึงการทำรายงานค่ะ ...ติดตามตอนต่อไปนะเป็นแบบนำไปใช้ประกอบทำโครงการได้เลยค่ะ (ข้อมูลเท่านั้นนะไม่เกี่ยวกับ Template นั่นโปรดไปสร้าง
เองตามแต่ละองค์กรค่ะ ถนัดอะไร

8. ประเภทของการประเมินผล ขอแบ่งหัวข้อหลักๆ ออกเป็น 4 ประเภท หรือ 4 หมวด ที่จะนำไปประเมิน ได้แก่


  1. หมวดปฏิกิริยา คือประเมินว่า มีการใช้เอกสารอบรมอย่างไร พอใจแค่ไหน เข้าใจอย่างไร  การเข้าใจเนื้อหาสาระ การปฏิบัติต่อสถานที่ และการบริหารงานต่างๆ รวมทั้งเวลาในการอบรม 
  2. หมวดการเรียนรู้ คือ ประเมินว่า ผู้อบรมได้รับความรู้มากขึ้นก่อนหลังการอบรม ได้ความรู้ใหม่ๆ หรือไม่ มีการได้รับรู้สิ่งใหมๆ อะไรบาง คือ เปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงไร มากน้อย ยังไง 
  3. หมวดพฤติกรรม คือ ประเมินถึงสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากการอบรมไปแล้ว 
  4. หมวดผลลัพภ์ คือ การวัดผลเป็นประสิทธิผล ประสิทธิภาพ คือ วัดเป็นตัวเลข เป็นยอดขาย เป็นผลงาน เร็วขึ้น มากน้อย ลดลง เป็นต้น 
ในบทต่อไปจะจำลองการเขียนโครงการ เลยค่ะ

พบกันใหม่ค่ะ See You later ....  



Tuesday 16 February 2016

ข้อมูลเบื้องต้นที่จำเป็นต้องทราบก่อนจัดเตรียมกิจกรรม เพื่อการพัฒนา

ในการดำเนินกิจกรรม เราจะต้องจัดเตรียมเกมส์กิจกรรม สถานที่ และ อุปกรณ์ ให้เหมาะสม แล้วเราจะทราบอย่างไรว่า อะไรเหมาะสมและ อะไรไม่เหมาะสม ดังนั้น เรามาดูกันว่า ผู้ดำเนินการจัดกิจกรรม จะต้องมีข้อมูลเบื้องต้นให้เห็นภาพผู้จะมาร่วมกิจกรรม และ นำไปสู่การจัดเตรียมได้อย่างเหมาะสม ไม่ไปตกม้าตายตอนจะเข้าสู่กระบวนการ...มีอะไรบ้าง ?

1) องค์กร และ ผู้บริหาร  (ต้องรู้อะไรบ้าง)

  • ความคาดหวังจากผู้บริหาร ที่มีต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม/เกมส์
  • เป้าหมาย ลักษณะงาน/ ตัวธุรกิจขององค์กร 
  • ความคาดหวังจากผู้บริหารที่มีต่อ ทีมงานวิทยากร

2) ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

  • จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 
  • เพศ อายุ สัดส่วนระหว่างหญิง/ชาย 
  • ตำแหน่งงานอะไรบ้าง อายุงาน ลักษณะงาน
  • และเคยเข้าร่วมกิจกรรมเช่นนี้มาก่อนหรือไม่ 

3) ก่อนจัดกิจกรรม ควรทำกิจกรรมอะไรก่อนเพื่อให้ได้มาซึ่งการรู้จักผู้เข้าร่วมเกมส์ กิจกรรม

  • ใช้แบบสอบถามเพื่อค้นหาความต้องการ ความจำเป็นในการอบรม 
  • ใช้การสัมภาษณฺผู้บริหารองค์กร เพื่อระบุเป้าหมาย และความคาดหวัง 
  • ใช้แบบสอบถาม เปิดใจสิ่งที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมคาดหวังในวันจัดกิจกรรมจริง 
ประโยชน์อื่นๆ จากข้อมูลพวกนี้ เรายังสามารถนำมาทำ KPI ในการวัดผลการจัดกิจกรรม ได้อีกด้วย 

พบกับตอนต่อไป ..เรื่องกระบวนการดำเนินการในห้องฝึกอบรม ในการดำเนินกิจกรรม ของผู้ดำเนินกิจกรรมเองด้วยค่ะ 


การจัดเตรียมอุปกรณ์ ควรคำนึงถึงอะไรบ้างในการจัดเตรียม

อุปกรณ์ที่ใช้ในแต่ละกิจกรรมเหล่านี้  จะเป็นเสมือนเครื่องอำนวยความสะดวกในการเล่นกิจกรรมค่ะ!  

นับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดบรรยากาศสนุุกสนาน และมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการดำเนินกิจกรรม ส่งผลทั้งผู้จัดและผู้เข้าร่วมกิจกรรม  ดังนั้นอุปกรณ์จึงเป็นวสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการจัดกิจกรรม นอกเหนือจากสถานที่ในการจัดแล้ว ในการจะจัดสรรอุปกรณ์ มีข้อควรคำนึงอีกหลายๆ ด้านเหมือนกันค่ะ ได้แก่

  • ขนาดและมาตรรฐานของอุปกรณ์ควรเลือกให้เหมาะกับระดับของผู้เข้าร่วมกิจกรรม 
  • ควรต้องจัดให้เพียงพอต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  • ต้องปลอดภัยใช้การได้เสมอ
  • ควรมีหลากหลาย และเหมาะสมกับกิจกรรมนั้นๆ 
  • ควรคำนึงถึงความสะอาด ความสะดวก และแข็งแรงเสมอ
  •  ควรตรวจสอบก่อนการใช้ครั้งจ่อไปเสมอ เช่น กระดาษ สิ่งของต่างๆ อาจมีผู้อื่นขีดเขียนไว้ หรือ แอบเฉลยไว้แล้ว เป็นต้น 
  • ควรมีการเตรียมสำรองไว้ เผื่อขาด หรือมีจำนวนไม่เพียงพอ กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม 
  • ควรใช้อุปกรณ์ที่ไม่สิ้นเปลือง หรือ ค่าใช้จ่ายไม่สูง ประหยัด ประโยชน์ ปลอดภัย มีประสทิธิภาพ และให้ประสิทธิผลในการเล่นเกมส์ 
  • ผู้ดำเนินกิจกรรม ควรศึกษาค้นคว้าการเรียนรู้ หรือ ฝึกเข้าร่วมใช้อุปกรณ์กับกิจกรรมอื่นๆ เพื่อความหลากหลายต่อการใช้งานอุปกรณ์ และศึกษาค้นคว้าทดลองฝึกเกมส์กับอุปกรณ์ที่ไม่เคยพบเห็นบ้าง 
สุดท้าย ข้อนี้สำคัญและจำเป็นยิ่ง คือก่อนจัดกิจกรรม ควรมีการละลายพฤติกรรม หรือ อบอุ่นวอร์มร่างกาย สมอง อารมณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เสมอ ...

อุปกรณ์อะไรบ้างของผู้ดำเนินกิจกรรมจะใช้ 

อุปกรณ์ในการดำเนินกิจกรรมที่พอจะเสนอในที่นี้ เหมาะสำหรับการทำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ จัดเกมส์ หรือ กิจกรรม รูปแบบต่างๆ

        • นกหวีด 
        • ปากกา ปากกาสี สีเทียน ดินสอ 
        • อุปกรณ์เล่นเกมส์ทั่วๆไป กระดาษเล็กๆ กระดาษบรรยาย กระดาษระดมสมอง 
        • ใบบันทึกผลคะแนน (อาจเตรียมล่วงหน้า)
        • เทปเพลงต่างๆ 
        • วีดีโอสาธิต
        • เครื่องเล่นเทป เครื่องเสียง 
        • เครื่องฉายแผ่นใส แผ่นใส ปากกา 
        •  กลอง
        • ฉิ่ง ฉาบ 
        • ไม้สำหรับเคาะ หรือ เหล็กสำหรับเคาะ
        • ผ้าสีต่างๆ สำหรับธง สำหรับโพกหัว เป็นต้น
        • เครื่องปฐมพยาบาล 
        • กล่องต่างๆ 
        • เชือกต่างๆ 
        • อื่นๆ ที่เกมส์ต้องใช้ 


(เทคนิตการจัดเกมส์และกิจกรรม / Human Resource Development Series)
 

Monday 15 February 2016

ควรคำนึงถึงความปลอดภัยในการทำเกมส์และกิจกรรม HRD

ความปลอดภัยในการดำเนินกิจกรรม

ผู้นำ หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม หรือ ผู้เกี่ยวข้อง ควรคำนึงถึงความปลอดภัย ในการใช้เกมส์เข้าร่วมกิจกรรมเสมอ เพื่อความปลอดภัยต่างๆ ถึงแม้เกมกิจกรรมจะเป็นเครื่องช่วยเสริมสร้างประสาท ร่างกาย ความคิด และจิตใจก็ตาม ดังนั้นการจัดกิจกรรม หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม ควรปฏิบัติดังนี้





  • เกี่ยวกับตัวผู้เข้าร่วมกิจกรรม ต้องมีความพร้อมทางร่างกาย คือ สุขภาพทั่วๆ ไปต้องปกติ 
  • การอธิบายวิธีเล่น และ กติกา ควรดั้งกฏเกณฑ์เพื่อป้องกันอุบัติเหตุด้วย โดยอาจ ทำเป็นกฏเกณฑ์ ใครทำผิดปรับแพ้ ฯลฯ
  • คำนึงถึงการจัดกลุ่มของผู้เล่น กับการจัดวางกิจกรรม จัดระบบการเล่น ควรคำนึงถึงความปลอดภัย เช่น กลุ่มผู้ใหญ่กับเด็ก  ผู้หญิงกับผู้ชาย เป็นต้น
  • อุปกรกร์ที่จัดหามาใช้ในกิจกรรม ควรคำนึงถึงโอกาสที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ในการจัดวาง ติดตั้ง สภาพความแข็งแรงต่างๆ  ความห่าง ไกล้ ไกล ความสูง 
  • ควรคำนึงถึงขนาดพื้นที่ในห้อง สนาม ควรคำนึงถึงความปลอดภัย เช่น หลุม รู ท่อ บ่อ เศษแก้ว เศษไม้ รากไม้ต่างๆ ฯลฯ  
  • คำนึงถึงสรีระ อาชีพ ลักษณะงาน เป็นต้น อายุ เพศ การศึกษา สุขภาพ ทัศนคติ ว่ามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน 
  • ขณะดำเนินกิจกรรม ผู้นำเกมส์ควรบอกกล่าว ตักเตือนอุบัติเหตุ ความบกพร่องที่นึงระวังต่อผู้ร่วมกิจกรรม ให้ระวังตัว อย่างไรบ้าง
  •  ในการสำรวจพื้นที่ที่จะจัดกิจกรรม ควรสอบถามเจ้าของสถานที่ ถึงบริเวณที่จัดทำกิจกรรม  กายภาพต่างๆ  ความตื้นลึกหนาบางของพื้นไม้ ท่อ บ่อ ลักษณะของพื้นไม้ เวทีต่างๆ
  • ควรจัด "เครื่องปฐมพยาบาลเบื้องต้น" ไว้ให้พร้อม เช่น สำลี ยาลม ยาดม ยาหม่อง ผ้าพันแผล และ ยาแก้ปวดเบื้องต้น และ สำรจสถานพยายบาลไก้ลเคียง อาจต้องเตรียมจัดพยาบาลไว้รอ 


(เทคนิตการจัดเกมส์และกิจกรรม / Human Resource Development Series)  


Sunday 27 October 2013

บทบาทนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กับการเป็น HR Strategic Partner

นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผู้รู้ประสาแล้วจะต้องพยายาม "เปิดโลกกว้าง" หาความรู้สาระที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กรอยู่เสมอ เพื่ออะไร ?
  • เพื่อให้เข้าใจถ่องแท้ และลึกซึ่งยิ่งขึ้น ตามหลักการแล้วหาก ลองเข้าไป search google ได้ข้อมูลมาเพียบถึง 26,500,000 รายการ 
  • สำหรับคำว่า HR Strategic Partner เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงว่า "ทั่วโลกให้ความสำคัญ" กับเรื่องนี้อยู่มากโขทีเดียว   
การบริหารงานบุคคลที่เป็น หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic   Partner) 
ในการบริหารองค์กรนั้น การวัดความสำเร็จขององค์กรหรือประสิทธิผล ของการเป็น Strategic Partner มีอยู่ 2 ด้านใหญ่ คือ

1) จะทำอย่างไรให้เป็นองค์กรเป็นองค์กรสุขภาพดี (Health  Organization)
2) องค์กรมีการเติบโตอย่างยั่งยืน (Sustainable Growth)      

สิ่งที่ท้าทายผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์  ต้องสามารถปรับเปลี่ยนสมรรถนะ เพื่อสนับสนุนการบริหารตามกลยุทธ์องค์กร   ** ที่สำคัญต้องมีบทบาท และคุณลักษณะ สำหรับการเป็น  HR Strategic Partner  กล่าวคือ

1. Business Orientation   เข้าใจธุรกิจขององค์กรดี    

  • ผู้บริหารทรัพยากรบุคคล ต้องมีความเข้าใจสภาพแวดล้อมขององค์กร   
  • HR ต้องทำการศึกษาวิเคราะห์องค์กรและยุทธศาสตร์ที่เชื่อมโยงปัจจัยภายนอก เฉกเช่นเดียวกับ ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร   
  • ต้องทำการศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพ จุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรค ข้อจำกัด และโอกาสต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นองค์กร  ทบทวนพันธกิจ วิสัยทัศน์ และเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ขององค์กร  
  • ต้องรู้ว่าองค์กรยืนอยู่ณ จุดใด. (Where are we now?)  
  • และต้องทราบถึงองค์กรจะเดินทางไปทางไหนเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายนั้นได้? (Where do we want to go) 
  • และรู้ว่าองค์กรจะไปถึงเป้าหมายได้อย่างไร  (How can we get there?) 
  • ต้องรู้ระบบการบริหารจัดการในองค์กรรวมทั้งการประเมินผลสัมฤทธิ์ 
  • ทราบผลกระทบจากการทำงานบริหารงานบุคคลเพื่อสนับสนุนองค์กรให้ไปสู่เป้าหมาย
  • อีกทั้งต้องมีความสามารถร่วมกันเป็นทีมกับผู้บริหารระดับสูงกำหนดOrganizational Performance Gap    
  • และร่วมกับผู้บริหารระดับสูง กำหนดพันธกิจ วิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ขององค์กรใหม่  
2. Change Agent   ผู้ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
  • HR ต้องปรับกระบวนการทัศน์ และวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของทรัพยากรบุคคล 
  • HR ต้องทำเป็นรายคน เป็นกลุ่ม/ทีม และทั่วองค์กร ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการนำเครื่องพัฒนาองค์กรต่างๆ เข้ามาใช้  เช่น ได้แก่เครื่องมือ 
    • Balanced Scorecard, 
    • Competency Base, 
    • Performance Management System , 
    • Tatent Management , 
    • Organization Design 
    • อื่นๆ อีกมากมาย ตามความต้องการนำมาใช้กับองค์กรของท่าน เป็นต้น
ผู้บริหารทรัพยากรบุคคลต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent)  และเป็นผู้สนับสนุนส่งเสริม (HR Champion)  สร้างความเป็นเอกลักษณ์ (Brand) ความเข้มแข็งให้กับองค์กร


เมื่อองค์กรต้องการเปลี่ยนแปลงให้มีประสิทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขัน จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และวิธีการในการทำงาน

ฉะนั้น HR ในองค์กรจะเป็นปัจจัยหลักในขับเคลื่อน การนำการเปลี่ยนแปลงไปได้ดีแค่ไหนต้องอาศัยสิ่งเหล่านี้ 
ดังนั้นตัวทดสอบตัวแรก คือ การจับทัศนคติก่อนเลย 
(จุดนี้จับมาวัดกันก่อนได้เลยสำหรับองค์กรบางองต์กรที่ใหญ่มาก และมีผู้ทำงานที่มีความรู้เข้าใจด้านการปรับตัวต่ำ มีเทคโนโลยีน้อย ระดับการศึกษาไม่สูงเท่าไร มีระบบการทำงานล้าหลัง มายาวนาน ต้องจับตาตัวนี้จริงจัง นำผลวัดมาปฏิบัติการปรับเปลี่ยนทัศนคติก่อนอื่น)

การปรับเปลี่ยนต้องการ

  • ทัศนคติ หรือกรอบความคิด (Mindset) ของคนในองค์กร
  • ต้องเห็นด้วยว่ามีความคิดที่จะปรับตัวเอง 
  • มีความคิดจะปฏิบัติตัวตามกระแสของการเปลี่ยนแปลง

ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะคนมักจะเกิดความเคยชินในสิ่งที่ทำอยู่ จึงไม่ต้องการการเปลี่ยแปลงและต่อต้านสิ่งใหม่เสมอๆ ทำให้องค์กรเดินไปได้ช้าหรือหยุดชะงัก หากองค์กรสามารถทำให้คนในองค์กรเปลี่ยนทัศนคติหรือ เปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น น่าจะเป็นพื้นฐานที่จะช่วยองค์กรได้

ดร.เดชา เดชะวัฒนไพศาล อาจารย์ประจำวิชาภาคพาณิชยศาสตร์ จุฬาฯ และที่ปรึกษาด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลง กล่าวว่า ความคิดของคนส่วนมาก และมักคิดว่าทำไม่ได้หรอก เพราะไม่มีประสบการณ์ ไม่เคยเรียนมาก่อน ทำให้ไม่กล้าทำ ซึ่งสิ่งที่เคยทำมาในอดีตทำให้เกิด “กับดักความคิด” เพราะฉะนั้น การใส่ “ความคิดสร้างสรรค์”  เข้าไปจะช่วยให้เกิดความกล้า “ลองผิดลองถูก” มากขึ้น

เริ่มต้นตั้งแต่การใช้ชีวิตประจำไม่ว่าเป็นการเดินทางอย่างไร การมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างอย่างไร ไปจนถึงเรื่องการทำงานไม่ว่าจะเป็นการคิดพรีเซนต์งานอย่างไรให้ได้ผลเร็วขึ้น  คุยกับลูกค้าอย่างไร ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานอย่างไรให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นโดยใช้เวลาและค่าใช้จ่ายน้อย

"อันจะนำไปสู่วงล้อการเปลี่ยนแปลง"

3. Leader   มีความเป็นผู้นำ

สำคัญยิ่งคือในเรื่องการ "สื่อสาร"  การพูด   การแก้ปัญหา  การตัดสินใจ   รู้จักและเข้าใจการบริหารเชิงธุรกิจตามวิสัยทัศน์  มีความน่าเชื่อถือและ ความเป็นมืออาชีพ ความสามารถในการเข้าสังคม   มนุษยสัมพันธ์ มีการเรียนรู้อยู่เสมอ  และต้องสามารถปรับตัวเองตามสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น (ต้องเป็นผู้นำแบบนี้)

คุณก่อศักดิ์  ไชยรัศมีศักดิ์ CEO บริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น ได้กล่าวในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์   อย่างน่าคิดว่า " สิ่งหนึ่งของภาวะความเป็นผู้นำของเขาที่ทำให้ทุกคนในองค์กรอยู่ด้วยกันแล้วมีความสุข  คนเราชีวิตการทำงานอยู่ไม่กี่ปี อย่างมากก็ 30-40 ปีทำงานแล้วรักงานรักเพื่อน ชีวิตมีความสุขกับการทำงาน ไม่ใช่อยู่ๆ กันไป ระแวงกัน ทะเลาะกัน เกลียดกันในหมู่คณะ ไปไหนไม่ได้  จำเป็นต้องอยู่ตรงนี้ มันก็ทุกข์ 


เพราะฉะนั้นทำงานแบบทุกข์ กับการทำงานแบบสุข ภาวะผู้นำเป็นสิ่งสำคัญ

แต่ผู้นำส่วนหนึ่งในปัจจุบันดูเหมือนจะเข้มงวด พร้อมจะเอาอำนาจไล่หวดกวดขันลูกน้องจนคำว่า “ความสุขในการทำงาน”  เป็นเพียงความฝันที่พูดได้คิดได้แต่มองไม่เห็นความเป็นจริง อย่างไรก็ตามคุณก่อศักดิ์ได้ยึดหลักของเล่าปี่ มีหรือที่จะให้ลูกน้องทุกข์ระทมกับการทำงาน ด้วยการอยู่กันแบบเป็นพี่ เป็นน้อง เป็นญาติ  ทำงานแบบคุยเล่นได้ ฟังเพลงได้ กินขนมได้ ขอให้มีความรับผิดชอบได้ อย่าให้เสีย อยู่ด้วยกันกับความรู้สึกว่าอยากมาทำงานมากกว่าอยู่บ้าน
 
 4. Advocate   เป็นผู้เสริมสร้างพลังขับเคลื่อนขององค์กร

ผู้บริหารทรัพยากรบุคคล  เป็นตัวแทน เป็นสื่อกลางระหว่างองค์กรและพนักงานเพื่อผลประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ผู้เขียนคิดว่าการเป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างองค์กร และพนักงาน HR Strategic Partner ไม่ต้องรอให้เกิดวิกฤติขึ้นในองค์กรถึงค่อยทำหน้าที่เคียงข้างกับผู้บริหารระดับสูง  เพราะหากเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นวิกฤติไปแล้ว ค่อยมาทำหน้าที่เป็นสื่อกลางจะเป็น HR แบบเชิงรับมากกว่า

เมื่อเกิดวิกฤติขึ้น โดยทั้งสองฝ่าย ระหว่างองค์กรและพนักงานคงได้รับผลกระทบ หรือบาดแผลทั้ง ทางใจ ทางกาย และทางความรู้สึกกันไปแล้วซึ่งบ้างครั้งอาจช้าเกินไปยากที่จะเยียวยา

เพราะคนที่เป็นคนเก่ง คนดี (Talent) ขององค์กรอาจลาออกไปอยู่องค์กรอื่นแล้ว

ตัวอย่างกิจกรรมที่สามารถเสริมสร้างการสื่อสาร 2 ทาง( Two ways communication) ได้แก่ 


  1. HR ควรมีกิจกรรม Morning Talk  เพื่อเป็นการคุยกันอย่างไม่เป็นทางการ หรือเป็นทางการ ระหว่างผู้ บริหาร ที่ปรึกษา และหัวหน้าฝ่าย พนักงาน เพื่อร่วมกันแก้ปัญหา แบบบูรณาการ ในด้านงานบริการ การบริหารจัดการ  และกรอบแนวทางใหม่ ๆ   ในการร่วมกันมุ่งถึงภารกิจและวัฒนธรรมองค์กร  เพื่อพนักงานทุกคนได้ถูกหล่อหลอมให้เข้าใจในภารกิจ เป้าหมาย  วัฒนธรรมเดียวกัน  รวมถึงซึมซับความรักองค์กรและเข้าใจองค์กรไปในแนวทางเดียวกัน   นอกจากนั้น   ยังเป็นช่วงที่ให้พนักงานได้รับรู้ข่าวสารรายวัน  และสถานการณ์ต่างๆ ที่น่าสนใจอันจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะก่อให้เกิดการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  และพร้อมที่จะนำไปปรับใช้ในการทำงานแต่ละวันของพนักงานต่อไป 
  • จุดสำคัญพึงระวังคือ อย่าให้คนที่มีทัศนคติต่อการทำงานเสียๆ มาเป็นคนมีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรม จะทำให้ได้ผลเสียมากกว่าผลดี ได้แก่ คนเก่งแต่ไม่ดี คนดีแต่ไม่เก่ง หรือ ทั้งไม่ดีแล้วยังไม่เก่ง ทำให้รูปแบบการดำเนินงานไม่เกิดผล ล่าช้า และ ได้ผลงานผิดเพี้ยน

5.  HR  Expert   (มีความเชี่ยวชาญด้านกระบวนการบริหารบุคคล)

  • ในฐานะเป็น Strategic Partner จะต้องมีความสามารถกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource Strategy)  
  • ต้องประสานหน่วยต่าง ๆ ภายในองค์กร 
  • เพื่อช่วยสรรหาทรัพยากรบุคคลที่เหมาะสมเข้ามาสู่องค์กร 
  • จำเป็นต้องรู้ระบบและวิธีการบริหารคุณภาพงานทั่วทั้งองค์กรให้เหมาะสมกับวิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ขององค์กร

จากคำกล่าวอาจารย์ธานินทร์ สุวงศ์วาร ว่า  “Strategic Partner” ซึ่งเป็นบทบาทที่ท้าทายมากที่สุดสำหรับ HR เนื่องจาก HR จะต้องเข้าใจในธุรกิจและปัจจัยที่จะทำให้ธุรกิจมีความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่เกี่ยวข้องกับคน เช่น จะต้องเตรียมบุคลากรสายพันธ์ใหม่ที่จะสามารถสร้างอำนาจในการแข่งขัน การนำเครื่องมือที่จะทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น Balanced Scorecard, Six Sigma, Competency Base, Strength Base และอื่นๆอีกมากมาย

เครื่องมือเหล่านี้เป็นเครื่องมือของการพัฒนาองค์กร ที่เรียกว่า บทแทรก (Intervention) ของ OD หรือ Organization Development โดย HR จะต้องทำงานร่วมกับฝ่ายบริหารจากทุกๆ หน่วยงาน

มุมมองผู้เขียน คิดว่า บทบาทของนักพัฒนาทรัพยากรกับการเป็น HR Strategic Partner นั้นเป็นสิ่งท้าทายสำหรับผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคลเป็นอันมาก   จากการได้ศึกษาค้นคว้าแล้ว ในเรื่องสมรรถนะของผู้บริหาร HR   ที่จะต้องสนับสนุนการบริหารตามยุทธศาสตร์ขององค์กรที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้น "ครอบคลุม 5 ประเด็น" ที่ถือว่าเป็นหัวใจหลักของผู้บริหาร HR   ที่จะต้องมีคุณลักษณะสมรรถนะที่หลากหลาย

นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งหลายเชิญฟังนี้ หากท่านสามารถฟูมฟัก และฝึกวิทยายุทธ์เพื่อพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอให้เป็น HR Strategic Partner เหมือนดั่งที่ ผศ. ดร.ศิริยุพา รุ่งเริงสุข ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาหลักสูตร สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้สัมภาษณ์กับ "ผู้จัดการรายสัปดาห์"  ว่านัก  HR สามารถไต่เพดานสูงสุดเป็นที่ปรึกษากินเงินเดือนเบ็ดเสร็จร่วมล้านบาท  และเป็นที่มีความต้องการในแรงงานสายอาชีพ HR ว่าตลาดจะขาดแคลนในกลุ่ม HR มืออาชีพ  ถึงขนาดว่าต้องเฟ้นหากันอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะการทำงานในระดับอินเตอร์จะหายากเป็นพิเศษ เพราะต้องมีลักษณะการทำงานแบบหุ้นส่วนกลยุทธ์ (strategic partner)

อ้างอิง : OK Nation.net

Wednesday 25 September 2013

พฤติกรรมและธรรมชาติของผู้เข้าร่วมเกม/กิจกรรม

พฤติกรรมของผู้ร่วมกิจกรรมเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง นอกเหนือจากทักษะในการเลือกเกม การใช้อุปกรณ์ วัตถุประสงค์ ความปลอดภัย รูปแบบการดำเนินเกม ขั้นตอนการเดินเกม เช่น การอบอุ่นร่างกาย การสลายภูเขาน้ำแข็งของจิตใจ












ยังมีพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมเกมด้วย ที่ต้องคำนึงถึงโดยทั่วไปมีดังนี้
  • เข้าข้างตนเองก่อนเสมอ มักเอาตัวรอดก่อนเสมอ
  • อยากเป็นผู้ชนะ หรือ มีส่วนของชัยชนะ 
  • เมื่อมีการแข่งขัน พยายามทุกวิถีทางเพื่อเอาชนะ บางครั้งลืมกติกา มารยาท
  • ไม่อยากถูกลงโทษ แต่อยากลงโทษผู้อื่นเพื่อความสะใจ
  • เมื่อมีการแข่งขันระหว่างกลุ่ม/ทีม จะชอบกิจกรรมที่ท้าทาย
  • แสดงออกว่าอยากทราบผลการรู้จักตนเองจากแบบสำรวจ แบบวิจัย หรือ แบบประเมินโดยมีตัวเองเป็นส่วนร่วม 
  • ชอบเด่นในทางสร้างสรรค์ ไม่ชอบเด่นในทางลบ
  • เครียดหรือไม่สบายใจหากถูกลงโทษบ่อยๆ 
  • เห็นใจเพื่อนร่วมทีมมากกว่าเพื่อนต่างทีม
  • ชอบเป็นผู้ดู ผู้กำกับมากกว่าเป็นผู้แสดง
  • มักแซวล้อเลียนผู้อื่น เพื่อความบันเทิงใจ 
  • ไม่อยากเล่นกิจกรรมซ้ำๆ ที่ตนเองรู้คำตอบอยู่แล้ว

พฤติกรรมเหล่านี้อาจเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินเกม หรือ บางครั้งหากไม่ทราบมาก่อนอาจก่อให้เกิดการลืมควบคุมและจัดสรรค์ให้อยู่ในความเหมาะสม ทำให้การจัดกิจกรรมครั้งนั้น ก่อผลเสียมากกว่าได้รับผลดีตามเป้าประสงค์ของผู้จัด