Sunday 27 October 2013

บทบาทนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กับการเป็น HR Strategic Partner

นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผู้รู้ประสาแล้วจะต้องพยายาม "เปิดโลกกว้าง" หาความรู้สาระที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กรอยู่เสมอ เพื่ออะไร ?
  • เพื่อให้เข้าใจถ่องแท้ และลึกซึ่งยิ่งขึ้น ตามหลักการแล้วหาก ลองเข้าไป search google ได้ข้อมูลมาเพียบถึง 26,500,000 รายการ 
  • สำหรับคำว่า HR Strategic Partner เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงว่า "ทั่วโลกให้ความสำคัญ" กับเรื่องนี้อยู่มากโขทีเดียว   
การบริหารงานบุคคลที่เป็น หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic   Partner) 
ในการบริหารองค์กรนั้น การวัดความสำเร็จขององค์กรหรือประสิทธิผล ของการเป็น Strategic Partner มีอยู่ 2 ด้านใหญ่ คือ

1) จะทำอย่างไรให้เป็นองค์กรเป็นองค์กรสุขภาพดี (Health  Organization)
2) องค์กรมีการเติบโตอย่างยั่งยืน (Sustainable Growth)      

สิ่งที่ท้าทายผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์  ต้องสามารถปรับเปลี่ยนสมรรถนะ เพื่อสนับสนุนการบริหารตามกลยุทธ์องค์กร   ** ที่สำคัญต้องมีบทบาท และคุณลักษณะ สำหรับการเป็น  HR Strategic Partner  กล่าวคือ

1. Business Orientation   เข้าใจธุรกิจขององค์กรดี    

  • ผู้บริหารทรัพยากรบุคคล ต้องมีความเข้าใจสภาพแวดล้อมขององค์กร   
  • HR ต้องทำการศึกษาวิเคราะห์องค์กรและยุทธศาสตร์ที่เชื่อมโยงปัจจัยภายนอก เฉกเช่นเดียวกับ ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร   
  • ต้องทำการศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพ จุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรค ข้อจำกัด และโอกาสต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นองค์กร  ทบทวนพันธกิจ วิสัยทัศน์ และเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ขององค์กร  
  • ต้องรู้ว่าองค์กรยืนอยู่ณ จุดใด. (Where are we now?)  
  • และต้องทราบถึงองค์กรจะเดินทางไปทางไหนเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายนั้นได้? (Where do we want to go) 
  • และรู้ว่าองค์กรจะไปถึงเป้าหมายได้อย่างไร  (How can we get there?) 
  • ต้องรู้ระบบการบริหารจัดการในองค์กรรวมทั้งการประเมินผลสัมฤทธิ์ 
  • ทราบผลกระทบจากการทำงานบริหารงานบุคคลเพื่อสนับสนุนองค์กรให้ไปสู่เป้าหมาย
  • อีกทั้งต้องมีความสามารถร่วมกันเป็นทีมกับผู้บริหารระดับสูงกำหนดOrganizational Performance Gap    
  • และร่วมกับผู้บริหารระดับสูง กำหนดพันธกิจ วิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ขององค์กรใหม่  
2. Change Agent   ผู้ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
  • HR ต้องปรับกระบวนการทัศน์ และวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของทรัพยากรบุคคล 
  • HR ต้องทำเป็นรายคน เป็นกลุ่ม/ทีม และทั่วองค์กร ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการนำเครื่องพัฒนาองค์กรต่างๆ เข้ามาใช้  เช่น ได้แก่เครื่องมือ 
    • Balanced Scorecard, 
    • Competency Base, 
    • Performance Management System , 
    • Tatent Management , 
    • Organization Design 
    • อื่นๆ อีกมากมาย ตามความต้องการนำมาใช้กับองค์กรของท่าน เป็นต้น
ผู้บริหารทรัพยากรบุคคลต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent)  และเป็นผู้สนับสนุนส่งเสริม (HR Champion)  สร้างความเป็นเอกลักษณ์ (Brand) ความเข้มแข็งให้กับองค์กร


เมื่อองค์กรต้องการเปลี่ยนแปลงให้มีประสิทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขัน จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และวิธีการในการทำงาน

ฉะนั้น HR ในองค์กรจะเป็นปัจจัยหลักในขับเคลื่อน การนำการเปลี่ยนแปลงไปได้ดีแค่ไหนต้องอาศัยสิ่งเหล่านี้ 
ดังนั้นตัวทดสอบตัวแรก คือ การจับทัศนคติก่อนเลย 
(จุดนี้จับมาวัดกันก่อนได้เลยสำหรับองค์กรบางองต์กรที่ใหญ่มาก และมีผู้ทำงานที่มีความรู้เข้าใจด้านการปรับตัวต่ำ มีเทคโนโลยีน้อย ระดับการศึกษาไม่สูงเท่าไร มีระบบการทำงานล้าหลัง มายาวนาน ต้องจับตาตัวนี้จริงจัง นำผลวัดมาปฏิบัติการปรับเปลี่ยนทัศนคติก่อนอื่น)

การปรับเปลี่ยนต้องการ

  • ทัศนคติ หรือกรอบความคิด (Mindset) ของคนในองค์กร
  • ต้องเห็นด้วยว่ามีความคิดที่จะปรับตัวเอง 
  • มีความคิดจะปฏิบัติตัวตามกระแสของการเปลี่ยนแปลง

ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะคนมักจะเกิดความเคยชินในสิ่งที่ทำอยู่ จึงไม่ต้องการการเปลี่ยแปลงและต่อต้านสิ่งใหม่เสมอๆ ทำให้องค์กรเดินไปได้ช้าหรือหยุดชะงัก หากองค์กรสามารถทำให้คนในองค์กรเปลี่ยนทัศนคติหรือ เปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น น่าจะเป็นพื้นฐานที่จะช่วยองค์กรได้

ดร.เดชา เดชะวัฒนไพศาล อาจารย์ประจำวิชาภาคพาณิชยศาสตร์ จุฬาฯ และที่ปรึกษาด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลง กล่าวว่า ความคิดของคนส่วนมาก และมักคิดว่าทำไม่ได้หรอก เพราะไม่มีประสบการณ์ ไม่เคยเรียนมาก่อน ทำให้ไม่กล้าทำ ซึ่งสิ่งที่เคยทำมาในอดีตทำให้เกิด “กับดักความคิด” เพราะฉะนั้น การใส่ “ความคิดสร้างสรรค์”  เข้าไปจะช่วยให้เกิดความกล้า “ลองผิดลองถูก” มากขึ้น

เริ่มต้นตั้งแต่การใช้ชีวิตประจำไม่ว่าเป็นการเดินทางอย่างไร การมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างอย่างไร ไปจนถึงเรื่องการทำงานไม่ว่าจะเป็นการคิดพรีเซนต์งานอย่างไรให้ได้ผลเร็วขึ้น  คุยกับลูกค้าอย่างไร ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานอย่างไรให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นโดยใช้เวลาและค่าใช้จ่ายน้อย

"อันจะนำไปสู่วงล้อการเปลี่ยนแปลง"

3. Leader   มีความเป็นผู้นำ

สำคัญยิ่งคือในเรื่องการ "สื่อสาร"  การพูด   การแก้ปัญหา  การตัดสินใจ   รู้จักและเข้าใจการบริหารเชิงธุรกิจตามวิสัยทัศน์  มีความน่าเชื่อถือและ ความเป็นมืออาชีพ ความสามารถในการเข้าสังคม   มนุษยสัมพันธ์ มีการเรียนรู้อยู่เสมอ  และต้องสามารถปรับตัวเองตามสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น (ต้องเป็นผู้นำแบบนี้)

คุณก่อศักดิ์  ไชยรัศมีศักดิ์ CEO บริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น ได้กล่าวในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์   อย่างน่าคิดว่า " สิ่งหนึ่งของภาวะความเป็นผู้นำของเขาที่ทำให้ทุกคนในองค์กรอยู่ด้วยกันแล้วมีความสุข  คนเราชีวิตการทำงานอยู่ไม่กี่ปี อย่างมากก็ 30-40 ปีทำงานแล้วรักงานรักเพื่อน ชีวิตมีความสุขกับการทำงาน ไม่ใช่อยู่ๆ กันไป ระแวงกัน ทะเลาะกัน เกลียดกันในหมู่คณะ ไปไหนไม่ได้  จำเป็นต้องอยู่ตรงนี้ มันก็ทุกข์ 


เพราะฉะนั้นทำงานแบบทุกข์ กับการทำงานแบบสุข ภาวะผู้นำเป็นสิ่งสำคัญ

แต่ผู้นำส่วนหนึ่งในปัจจุบันดูเหมือนจะเข้มงวด พร้อมจะเอาอำนาจไล่หวดกวดขันลูกน้องจนคำว่า “ความสุขในการทำงาน”  เป็นเพียงความฝันที่พูดได้คิดได้แต่มองไม่เห็นความเป็นจริง อย่างไรก็ตามคุณก่อศักดิ์ได้ยึดหลักของเล่าปี่ มีหรือที่จะให้ลูกน้องทุกข์ระทมกับการทำงาน ด้วยการอยู่กันแบบเป็นพี่ เป็นน้อง เป็นญาติ  ทำงานแบบคุยเล่นได้ ฟังเพลงได้ กินขนมได้ ขอให้มีความรับผิดชอบได้ อย่าให้เสีย อยู่ด้วยกันกับความรู้สึกว่าอยากมาทำงานมากกว่าอยู่บ้าน
 
 4. Advocate   เป็นผู้เสริมสร้างพลังขับเคลื่อนขององค์กร

ผู้บริหารทรัพยากรบุคคล  เป็นตัวแทน เป็นสื่อกลางระหว่างองค์กรและพนักงานเพื่อผลประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ผู้เขียนคิดว่าการเป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างองค์กร และพนักงาน HR Strategic Partner ไม่ต้องรอให้เกิดวิกฤติขึ้นในองค์กรถึงค่อยทำหน้าที่เคียงข้างกับผู้บริหารระดับสูง  เพราะหากเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นวิกฤติไปแล้ว ค่อยมาทำหน้าที่เป็นสื่อกลางจะเป็น HR แบบเชิงรับมากกว่า

เมื่อเกิดวิกฤติขึ้น โดยทั้งสองฝ่าย ระหว่างองค์กรและพนักงานคงได้รับผลกระทบ หรือบาดแผลทั้ง ทางใจ ทางกาย และทางความรู้สึกกันไปแล้วซึ่งบ้างครั้งอาจช้าเกินไปยากที่จะเยียวยา

เพราะคนที่เป็นคนเก่ง คนดี (Talent) ขององค์กรอาจลาออกไปอยู่องค์กรอื่นแล้ว

ตัวอย่างกิจกรรมที่สามารถเสริมสร้างการสื่อสาร 2 ทาง( Two ways communication) ได้แก่ 


  1. HR ควรมีกิจกรรม Morning Talk  เพื่อเป็นการคุยกันอย่างไม่เป็นทางการ หรือเป็นทางการ ระหว่างผู้ บริหาร ที่ปรึกษา และหัวหน้าฝ่าย พนักงาน เพื่อร่วมกันแก้ปัญหา แบบบูรณาการ ในด้านงานบริการ การบริหารจัดการ  และกรอบแนวทางใหม่ ๆ   ในการร่วมกันมุ่งถึงภารกิจและวัฒนธรรมองค์กร  เพื่อพนักงานทุกคนได้ถูกหล่อหลอมให้เข้าใจในภารกิจ เป้าหมาย  วัฒนธรรมเดียวกัน  รวมถึงซึมซับความรักองค์กรและเข้าใจองค์กรไปในแนวทางเดียวกัน   นอกจากนั้น   ยังเป็นช่วงที่ให้พนักงานได้รับรู้ข่าวสารรายวัน  และสถานการณ์ต่างๆ ที่น่าสนใจอันจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะก่อให้เกิดการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  และพร้อมที่จะนำไปปรับใช้ในการทำงานแต่ละวันของพนักงานต่อไป 
  • จุดสำคัญพึงระวังคือ อย่าให้คนที่มีทัศนคติต่อการทำงานเสียๆ มาเป็นคนมีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรม จะทำให้ได้ผลเสียมากกว่าผลดี ได้แก่ คนเก่งแต่ไม่ดี คนดีแต่ไม่เก่ง หรือ ทั้งไม่ดีแล้วยังไม่เก่ง ทำให้รูปแบบการดำเนินงานไม่เกิดผล ล่าช้า และ ได้ผลงานผิดเพี้ยน

5.  HR  Expert   (มีความเชี่ยวชาญด้านกระบวนการบริหารบุคคล)

  • ในฐานะเป็น Strategic Partner จะต้องมีความสามารถกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource Strategy)  
  • ต้องประสานหน่วยต่าง ๆ ภายในองค์กร 
  • เพื่อช่วยสรรหาทรัพยากรบุคคลที่เหมาะสมเข้ามาสู่องค์กร 
  • จำเป็นต้องรู้ระบบและวิธีการบริหารคุณภาพงานทั่วทั้งองค์กรให้เหมาะสมกับวิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ขององค์กร

จากคำกล่าวอาจารย์ธานินทร์ สุวงศ์วาร ว่า  “Strategic Partner” ซึ่งเป็นบทบาทที่ท้าทายมากที่สุดสำหรับ HR เนื่องจาก HR จะต้องเข้าใจในธุรกิจและปัจจัยที่จะทำให้ธุรกิจมีความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่เกี่ยวข้องกับคน เช่น จะต้องเตรียมบุคลากรสายพันธ์ใหม่ที่จะสามารถสร้างอำนาจในการแข่งขัน การนำเครื่องมือที่จะทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น Balanced Scorecard, Six Sigma, Competency Base, Strength Base และอื่นๆอีกมากมาย

เครื่องมือเหล่านี้เป็นเครื่องมือของการพัฒนาองค์กร ที่เรียกว่า บทแทรก (Intervention) ของ OD หรือ Organization Development โดย HR จะต้องทำงานร่วมกับฝ่ายบริหารจากทุกๆ หน่วยงาน

มุมมองผู้เขียน คิดว่า บทบาทของนักพัฒนาทรัพยากรกับการเป็น HR Strategic Partner นั้นเป็นสิ่งท้าทายสำหรับผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคลเป็นอันมาก   จากการได้ศึกษาค้นคว้าแล้ว ในเรื่องสมรรถนะของผู้บริหาร HR   ที่จะต้องสนับสนุนการบริหารตามยุทธศาสตร์ขององค์กรที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้น "ครอบคลุม 5 ประเด็น" ที่ถือว่าเป็นหัวใจหลักของผู้บริหาร HR   ที่จะต้องมีคุณลักษณะสมรรถนะที่หลากหลาย

นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งหลายเชิญฟังนี้ หากท่านสามารถฟูมฟัก และฝึกวิทยายุทธ์เพื่อพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอให้เป็น HR Strategic Partner เหมือนดั่งที่ ผศ. ดร.ศิริยุพา รุ่งเริงสุข ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาหลักสูตร สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้สัมภาษณ์กับ "ผู้จัดการรายสัปดาห์"  ว่านัก  HR สามารถไต่เพดานสูงสุดเป็นที่ปรึกษากินเงินเดือนเบ็ดเสร็จร่วมล้านบาท  และเป็นที่มีความต้องการในแรงงานสายอาชีพ HR ว่าตลาดจะขาดแคลนในกลุ่ม HR มืออาชีพ  ถึงขนาดว่าต้องเฟ้นหากันอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะการทำงานในระดับอินเตอร์จะหายากเป็นพิเศษ เพราะต้องมีลักษณะการทำงานแบบหุ้นส่วนกลยุทธ์ (strategic partner)

อ้างอิง : OK Nation.net

Wednesday 25 September 2013

พฤติกรรมและธรรมชาติของผู้เข้าร่วมเกม/กิจกรรม

พฤติกรรมของผู้ร่วมกิจกรรมเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง นอกเหนือจากทักษะในการเลือกเกม การใช้อุปกรณ์ วัตถุประสงค์ ความปลอดภัย รูปแบบการดำเนินเกม ขั้นตอนการเดินเกม เช่น การอบอุ่นร่างกาย การสลายภูเขาน้ำแข็งของจิตใจ












ยังมีพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมเกมด้วย ที่ต้องคำนึงถึงโดยทั่วไปมีดังนี้
  • เข้าข้างตนเองก่อนเสมอ มักเอาตัวรอดก่อนเสมอ
  • อยากเป็นผู้ชนะ หรือ มีส่วนของชัยชนะ 
  • เมื่อมีการแข่งขัน พยายามทุกวิถีทางเพื่อเอาชนะ บางครั้งลืมกติกา มารยาท
  • ไม่อยากถูกลงโทษ แต่อยากลงโทษผู้อื่นเพื่อความสะใจ
  • เมื่อมีการแข่งขันระหว่างกลุ่ม/ทีม จะชอบกิจกรรมที่ท้าทาย
  • แสดงออกว่าอยากทราบผลการรู้จักตนเองจากแบบสำรวจ แบบวิจัย หรือ แบบประเมินโดยมีตัวเองเป็นส่วนร่วม 
  • ชอบเด่นในทางสร้างสรรค์ ไม่ชอบเด่นในทางลบ
  • เครียดหรือไม่สบายใจหากถูกลงโทษบ่อยๆ 
  • เห็นใจเพื่อนร่วมทีมมากกว่าเพื่อนต่างทีม
  • ชอบเป็นผู้ดู ผู้กำกับมากกว่าเป็นผู้แสดง
  • มักแซวล้อเลียนผู้อื่น เพื่อความบันเทิงใจ 
  • ไม่อยากเล่นกิจกรรมซ้ำๆ ที่ตนเองรู้คำตอบอยู่แล้ว

พฤติกรรมเหล่านี้อาจเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินเกม หรือ บางครั้งหากไม่ทราบมาก่อนอาจก่อให้เกิดการลืมควบคุมและจัดสรรค์ให้อยู่ในความเหมาะสม ทำให้การจัดกิจกรรมครั้งนั้น ก่อผลเสียมากกว่าได้รับผลดีตามเป้าประสงค์ของผู้จัด 






Saturday 14 September 2013

เทคนิคการจัดลำดับกิจกรรมต่างๆ (1)

เนื่องจากกิจกรรมด้านการพัฒนาบุคลากรแต่ละชนิด จะมีเป้าหมายด้านผลลัพธ์ ความเหมาะสมด้านบุคลิกภาพของแต่ละคน ต่อกลุ่มคน ต่อเวลา ตอสถานที่ ต่อสถานการณ์ต่างๆ กัน ในการวางแผนการจัดกิจกรรม จึงควรคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้

1) วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการจัดกิจกรรม หรือ เกม
     วิทยากรหรือผู้นำเกม จะมีความคาดหวัง เกิดความรู้สึก อารมณ์พึงพอใจ หรือลดภาวะการปิดกั้นตนเอง ป้องกันการไม่ไว้วางใจ ภาวะไม่เป็นเอกภาพ ความไม่มีอิสระภาพ อาจกำหนดเป้าหมายเป็นสัดส่วน น้ำหนัก หรือ อัตราร้อยละ

2) ชนิดของกิจกรรม
    เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์ได้แล้ว นั่นจึงจะสามารถกำหนดขนิดของกินกรรมได้ เช่น บางเกม หรือ บางกิจกรรมทำให้นรู้สึกพึงพอใจ บางกิจกรรมก่อความเครียด กังวล กดดัน มากกว่าจะสร้างความพึงพอใจ หรือบางกิจกรรมก่อความสนิทสนมคุ้นเคย รู้จักกันมากขึ้น มากว่าก่อให้เกิดความรู้สึกพึงพอใจเท่านั้น

3) ธรรมชาติของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
    บุคลแต่ละคนมีธรรมชาติหรือมีบุคลิกภาพแตกต่างกัน ผู้มาเข้าร่วมใหม่ๆ อาจไม่สนิทสนมกัน ต่างเพศกัน ต่างกลุ่มกัน อาจไม่ไว้วางใจกันและกัน ไม่คุ้เคยกัน หากมีภาวะเหล่านี้เกิดขึ้นกับผู้เข้าร่วมกิจกรรม วิทยากรหรือผู้นำเกม จะต้องจัดการวางแผนการนำเสอ ที่เหมาะสมต่อไป

4) หลักในการจัดลำดับเกม หรือ กิจกรรมต่างๆ 
    แนวกว้างๆ ในการลำดับกิจกรรม ดังนี้

  • เกมที่ทุกคนจะได้เริ่มเล่นอยู่กับที่ก่่อนในการเริ่มเล่น โดยอาจจะใช้การแสดงออกมาเล่น เช่น
      • การแสดงออกด้านเสียง
      • การแสดงออกกิริยาพร้อมกันอยู่กับที่  
      • ตย. เช่น การปรบมือกับที่พร้อมกัน การร้องเฮ้ หรือ เกมการนับขายโอ่ง หรือ เกมนายพลสั่ง เป็นต้น
  • เกมที่ทุกคนจะได้ไกล้ชิดกัน หรือ รู้สึกมีส่วนร่วมซึ่งกันและกัน โดยอาจลำดับความไกล้ชิดต่างๆ ตามเหมาะสม คือ 
      • ได้ไกล้ชิดด้านอารมณ์ ได้หัวเราะร่วมกัน 
      • ได้ไกล้ชิดด้านความคิด เช่น การรู้จักให้ การรู้จักรับ จากแต่ละฝ่าย
      • ความไกล้ชิดทางด้านร่างการ เช่นการเกี่ยวก้อย เกาะเอว การเคลื่อนไหวพร้อมกัน หรือ การบีบนวด เป็นต้น 
  • เกมที่เปิดโอกาสให้คนหนึ่งคนใดเป็นตัวแทนกลุ่มแสดงออกแล้วให้กลุ่มช่วยเชียร์ 
  • เกมที่เปิดโอกาสให้ทุกคนในกลุ่มหรือ ทีมร่วมกันแสดงเล่นหรือ แข่งขันกัน 

สรุป

เมื่อบรรยากาศต่างๆ ดีขึ้น การดำเนินกิจกรรมหรือเกมเหล่านี้ก็ค่อยๆ เพิ่มความรู้สึก จัดการอารมณ์และมีความเข้มข้นมากขึ้น เกิดโอกาสในการไกล้ชิดอารมณ์ ความคิด และการสัมผัสมากขึ้น เช่นเกมบางเกมมีการขี่หลัง หรือ เกาะเอว ลดทอดความห่างเหินและ เริ่มมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการต่อเนื่องกิจกรรมต่อไป 



การเตรียมการก่อนการเล่นเกม/กิจกรรม



วิทยากรหรือ ผู้นำเกม ควรมีการเตรียมการก่อนการถ่ายทอด คือ
  • วิเคราะห์กลุ่ม คือ ดู่ว่ามีผู้เล่นหรือเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนกี่ท่าน เพศ อายุ การศึกษา ประสบการณ์ 
  • ขนาดกลุ่ม คือ จะแบ่งจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มละเท่าไร แต่โดยส่วนใหญ่ จำนวนที่มีประสิทธิภาพคือ 7-10 คน 
  • รับทราบพื้นที่/สถานที่ เพื่อเลือกเกม หรือ กิจกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่ หรือ ขนาดของสถานที่ และจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 
  • สื่อ / เครื่องมือ ที่พื้นที่ สถานที่จะใช้ในการดำเนินกิจกรรมหรือ เกม รายละเอียดเพิ่มเติมจะมีในหัวข้ออุปกรณ์ และผู้ดำเนินกิจกรรม 
  • วางแผนการเล่นเกม ว่าเกมหรือ กิจกรรมที่เกมใช้นั้นมีวัตถุประสงค์ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ หรือ ความสามารถด้านใด 
  • เตรียมอุปกรณ์ เกม เอกสาร รางวัล หรือ เครื่องมือที่จะใช้ในการดำเนินเกมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 
  • เตรียมผู้ช่วย และเกมสำรอง เพราะกิจกรรมบางกิจกรรม มีการสาธิต จึงต้องมีผู้ช่วย และมีเกมสำรองเผื่อ 

Friday 13 September 2013

ตัวอย่างบทบาทผู้นำเกม และผู้ช่วยวิทยากร

ขอยกตัวอย่างบทบาทของผู้นำเกมและกิจกรรม หรือ ผู้ช่วยวิทยากร











ในการจัดเกมการเรียนรู้ที่เคยประชุมทีมผู้นำเกม มีตัวอย่าง ดังนี้

  • เป็นผู้ชี้นำให้เล่น  หลังจากแจ้งกติกาแล้ว โดยอาจจะมีทดลองเล่นดูก่อน ก่อนจะมีการแข่งขันจริง เพราะเกมบางเกมผู้เล่นอาจต้องตีความในคำสั่งจากทีมวิทยากร
  • มีเทคนิคในการจับผิด หรือการลักไก่จากผู้เล่นเป็น คือ ต้องหูไว ตาไว และมีเทคนิคในการยืนคุม มีระยะห่างที่เหมาะสมในการตรวจสอบผู้เล่น
  • กำหนดกฏกติกา ที่มีความชัดเจนในการพูด หรือสื่อสารในการชี้แจงให้กลุ่มเล่นเกมกิจกรรม ไม่ลืมว่าให้ทีมแต่ละทึม แจ้งชื่อทีม คำขวัญ หรือ เพลงประจำทีม และการใช้อุปกรณ์ประจำทีม
  • ตัดสินชี้ขาดที่ยุติธรรมในการตัดสิน โดยไม่ให้ผู้เล่นรู้สึกว่าเราลำเอียง 
  • มีเทคนิคในการควบคุมเกม/กิจกรรม และควบคุมเวลา โดยไม่ลืมนาฬิกาจับเวลา หรือ การจับเวลา ขณะเล่นเกม เพื่อไม่ให้เกิดการเยิ่นเย้อ 
  • รู้จักการแก้ไขปัญหาหาเทคนิคที่เป็นไปได้ ในขณะการดำเนินเกม เช่น ในระหว่างการรอการเล่น ประจำสถานีต่างๆ หรือ กรณีแบ่งทีมกันเล่น ผู้นำเกม อาจให้ผู้เล่นเกมไปหาก้อนหินเท่าจำนวนลูกทีม หรือผู้เล่นในทีม เป็นต้น 
  • อย่าลืมประเมิน หรือ สังเกตุพฤติกรรม ตั้งแต่การเริ่มเล่น จนถึงสิ้นสุดกิจกรรม 
แนะนำเพิ่มเติมว่า อาจมีการจดบันทึกประเมินผู้เล่นแต่ละทีม ปัจจุบันมีเทคโนโลยี อาจมีการบันทึกภาพ คลิปไว้สำหรับการประเมินต่างๆ ก็ได้ 

Monday 9 September 2013

บทบาทผู้นำเกม/กิจกรรม

สรุปได้ว่ากิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรม (ตามที่ได้เขียนไว้ตอนที่แล้ว)

  • การดำเนินกิจกรรมก่อน 
  • ระหว่างกิจกรรม หรือ 
  • ภายหลังกิจกรรม 

ล้วนมีวัตถุประสงค์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกสนสร้างความพร้อมหรือละลายพฤติกรรม สร้างความสนิทสนมคุ้นเคย การผ่อนคลาย การสร้างบรรยากาศนันทนาการก็ตาม





บทบาทของวิทยากรหรือ ผู้นำเกม มีหลักๆ ดังนี้
  • เป็นผู้สอน คือ เป็นผู้สอนให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ที่ยึดตัวผู้เข้ารับการอบรมเป็นศูนย์กลาง
  • เป็นผู้ฝึกหัด คือ เป็นผู้คอยกำกับ หรือ ฝึกหัดให้เขาสามารถพัฒนาคนเองให้มีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถในงาน ในตน ในคนรอบข้าง
  • เป็นพี่เลี้ยง คือ เป็นที่ปรึกษา เพื่อช่วยแก้ปัญหาในการทำงาน หรือการดำเนินกิจกรรม 
  • เป็นผู้นำ คือ เป็นตัวอย่างหรือ เป็นแบบอย่าง ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำไปคิดประยุกต์ ใช้ให้เหมาะสมกับงานในหน้าที่ 
บทบาทอื่นๆ 
  • บทบาทของผู้จูงใจ โดยใช้เกม หรือ กิจกรรมเป็นเครื่องมือ
  • บทบาทของผู้รอบรู้  จะให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ร่วมกิจกรรม
  • บทบาทผู้มีความรับผิดชอบ ต่อความปลอภัย ต่อเวลา และต่อวิชาชีพ
  • บทบาทผู้ถ่ายทอด มีความสามารถในการถ่ายทอดอย่างชัดเจน 
  • บทบาทผู้มีความคิดสร้างสรรค์ ที่ใช้ปฏิภาณไหวพริบในการดำเนินกิจกรรม หรือ เกม
  • บทบาทผู้สนับสนุน คือ ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมที่มีความต่อเนื่องไม่ขาดตอนหรือไม่สะดุด
  • บทบาทผู้ให้คำแนะนำ ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำไปใช้ประโยชน์ในงานหรือชีวิต
  • บทบาทผู้แก้ไขปัญหา ที่เราไม่คาดว่าจะเกิดปัญหาในการดำเนินเกมหรือกิจกรรม
โดยภาพรวมของเกมหรือ กิจกรรม เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลหรือกลุ่มคนให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถ หรือ เกิดทัศนคติที่ดี ไปใช้ในการทำงาน ในหน้าที่ผู้นำเกม หรือวิทยากรต้องยึดแนวทางการนำเสนอเกม หรือกิจกรรมที่เข้าใจง่าย ได้สาระ คลประโยชน์ หรือนุก ปลุกความคิด สามารถพิชิตปัญหา


ยังมีต่อค่ะ .... บทต่อไปจะยกตัวอย่างการลำดับบทบาทของผู้นำเกมหรือวิทยากร มีอะไรบ้าง ตอนต่อไปนะคะ  

Thursday 5 September 2013

องค์ประกอบของกิจกรรมหรือเกม

องค์ประกอบสำหรับการดำเนินกิจกรรมหรือเกม มีดังนี้


1. ชื่อกิจกรรมหรือชื่อเกมนั้นๆ ที่จะให้ผู้เข้าร่ามได้มีส่วนร่วม

2.วัตถุประสงค์หลัก และ รอง ในการร่วมกิจกรรม

3. ขนาดของกลุ่ม คือ จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม หรือ จำนวนเล่นเกมที่เหมาะสม

4. อุปกรณ์หรือเครื่องมือ ที่ใช้ในกิจกรรมหรือ เป็นวัสดุที่จับต้องได้



5.  กฏ กติกา มารยาท ในการใช้กิจกรรม

6. สถานที่ เวลา  ที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรม

7. ขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรม  ประกอบด้วย

  • ขั้นกิจกรรม : เป็นการแจ้งกฏเกณฑ์ หรือ กติกาการเล่น
  • ขั้นวิเคราะห์ : มีเกณฑ์การตัดสิน หรือการเฉลยคำตอบที่แน่นอน หร้อมเหตุผลประกอบ

8. การตัดสิน และการตัดเกม หรือ ยุติเกมที่เหมาะสม คือไม่ใช้เวลาที่สั่นหรือ ยาวเกินไป

9. การสรุปสาระเกม/กิจกรรม เพื่อการร่วมกิจกรรม หรือ กิจกรรมยุติลง

10. การนำไปประยุกต์ใช้ในหน้าที่การงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายคือ เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

............................

Tuesday 3 September 2013

เกม หรือ กิจกรรม ที่ดี แบ่งได้ 6 ประเภท

ลักษณะ ของเกมหรือกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพ ต่อการพัฒนาบุคลากร จะต้องมีดังนี้

  • เน้นศูนย์กลางการเรียนรู้อยู่ที่ผู้เข้ารับการอบรม
  • ผู้เข้ารับการอบรมมีโอกาสแสดงออกอย่างทั่วถึง ให้ทุกคนมีส่วนร่วม
  • สร้างบรรยากาศเป็นกันเอง และให้เกียรติผู้เข้ารับการอบรมทุกคน
  • ได้สาระประโยชน์ พร้อมๆความสนุกสนานเพลิดเพลิน
  • วิทยากรจะทำหน้าที่อำนวยความสะดวก และประสานให้กิจกรรมดำเนินไปอย่างราบรื่น
  • มีสถานะการแข่งขันเชิงสร้างสรรค์
  • มีความหลากหลายในรูปแบบ
  • แต่ละขั้นก็การดำเนินกิจกรรม ต้องมีความต่อเนื่อง เชื่อมโยงกันอย่างครบถ้วน
  • หากมีการต่อรองการดำเนินกิจกรรม ควรมีการสอบถามความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมการอบรมก่อน
กิจกรรมที่ใช้พัฒนาบุคลากร แบ่งรูปแบบ ออกเป็น 6 ประเภท

1. กิจกรรมละลายพฤติกรรม (Breaking the Ice)
มีวัตถุประสงค์สำคัญคือ มุ่งสร้างความรู้จัก คุ้นเคยระหว่างผู้เข้ารับการอบรม ซึ่งมาจากที่ต่างๆ ฝ่ายหรือแผนกงานต่างๆกัน เกมส์จะช่วยอุ่นเครื่อง สร้างบรรยากาศการเปิดเผยตัวเองให้ผู่้อื่นรู้จัก อันจะเป็นประโยชน์

2. กิจกรรมเพื่อประสบการณ์เรียนรู้ (Classroom Activities Games)
เป็นเกมที่เน้นสาระรวบยอด เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทัศนคติ ความเข้าใจ และก่อให้เกิดทักษะใหม่ๆ อันจะนำไปใช้ในการบริหารงานและดำเนินชีวิต

3. กิจกรรมสันทนาการหรือนันทนาการ (Recreation Games)
เป็นการเสริมบรรยากาศให้มีความสนุกสนาน รื่นเริง เพื่อให้คลายจากความตึงเครียด ทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้เข้าร่วมการอบรมให้มากยิ่งขึ้น ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในการรวมกลุ่ม หรือ พบปะสังสรรค์

4. กิจกรรมเข้าจังหวะ (Rhythmic Activities) 
เป็นกิจกรรมที่ร่างกายและจิตใจมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อดนตรี และจังหวะที่ใช้ประกอบ ได้แก่ เสียงเพลง การเคาะไม้ เคาะเหล็ก ฉิ่ง ฉาบ กลอง เป็นต้น และขอบข่ายของกิจกรรมเข้าจังหวะ มีหลายรูปแบบอีกเช่นกัน ได้แก่ 
    • การเคลื่อนไหวเบื้องต้น เช่นการเดิน วิ่งกระโดด ควบม้า โดยเคลื่อนไหวเข้ากับจังหวะ
    • การเลียนแบบธรรมชาติ หรือ สิ่งทั่วๆไปต่างๆ เช่น เดินเป็ด ช้างเดิน รถไฟวิ่ง
    • การเล่นประกอบเพลง เช่น รีรีข้าวสาร โพงพาง งูกินหาง มอญซ่อนผ้า
    • การเคลื่อนไหวตามบทเพลง คือ การเคลื่อนไหวให้เข้ากับจังหวะดนตรี หรือ สอดคล้องกับเนื้อเพลงที่ร้อง
    • การเล่นแบบคิดสร้างสรรค์ คือ การแสดงแบบสมมุติ เช่น เป็นคนตัดต้นไม้ เป็นตำรวจ การแสดงอาการเสียใจหรือดีใจ
    • การเล่นแบบพื้นเมืองนานาชาติ การลีลาศ ได้แก่การเต้นรำพื้นเมืองของแต่ละประเทศ 


5. กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพ (Self Testing Activities) 
เป็นการเล่นผาดโผนส่งเสริมความสามารถด้านดวามแข็งแรง สมรรถภาพทางกาย ส่งเสริมการเจริญของกล้ามเนื้อหลักในการเคลื่อนไหว และความยืดหยุ่นของข้อต่างๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ยังเป็นการวัดประสิทธภาพของร่างกายอีกด้วย ได้แก่

    • กิจกรรมทดสอบรายบุคคล ได้แก่ ตุ๊กตาล้มลุก ยืนย่อเข่าข้างเดียวดันพื้นปรบมือ ฯลฯ
    • กิจกรรมทดสอบเป็นคู่ เป็นกลุ่ม ได้แก่ แฝดสยาม เก้าอี้โยกคนลอย
    • กิจกรรมผาดโผน ได้แก่ กบกระโดด หนอนยืด สุนัขหักขา ฯลฯ

6. กิจกรรมวอล์คแรลลี่ (Walk Rally) 
ในปัจจุบันหลายๆองค์กรได้หันมาใช้วิธีการพัฒนาบุคลากรวิธีหนึ่ง คือ กิจกรรมวอล์คแรลลี่ (Walk Rally) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างประสบการณ์ตรง มีการเรียนรู้ภายใต้เงื่อไขที่กำหนด และมีการแข่งขันระหว่างกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่ผสมผสานหลายๆ กิจกรรมเข้าด้วยกัน และยังเป็นกิจกรรมทดสอบสมรรถภาพซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยเกมจากการลงมือปฏิบัติ หรือ เข้าร่วมกิจกรรมโดยตรง ซึ่งวิธีการฝึกอบรมโดใช้วิล์คแรลลี่ที่จะช่วยลดความเบื่อหน่ายในห้องฝึกอบรม และเสริมสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่สนุกสนาน และตื่นเต้นอีกด้วย

เนื่องจากความสนใจในการพัฒนาบุคลากรขององค์กรหลายๆแห่งได้หันมาให้ความสำคัญและสนใจพัฒนาคนให้มีทักษะ และความสามารถในการประสานประโยชน์ของตนให้เข้ากับทีมงาน และองค์กรด้วยกิจกรรมการจัดกลุ่มสัมพันธ์ และการวอล์คแรลลี่ ไม่เพียงแต่เสริมสร้างและพัฒนาทีมแต่ยังพัฒนาหลัการเรียนรู้ วิธีการหรือเทคนิคจากการดำเนินกิจกรรมด้วย 



นำเข้าสู่เกมเพื่อพัฒนาบุคลากร

1. ความสำคัญของเกมเพื่อการพัตนาบุคลากร คือ
  • เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แนะนำตัวเอง และเปิดเผยตัวเองออกมา
  • สร้างให้คนในกลุ่มรู้จักกัน คุ้นเคยกัน
  • มีความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน ที่ได้ร่วมคิด ร่วมทำกันมา
  • ส่งเสริมบรรยากาศที่ผ่อนคลายหรือเป็นมิตรต่อกัน
  • เปิดโอกาสให้ทุกคนเรียนรู้ความเชื่อมั่นและกล้าแสดงออก
2. การพัฒนาบุคลากรโดยยึดตัวผู้เรียนและผู้สอนเป็นศูนย์กลาง 

ในความแตกต่างของสองด้านนี้ คือการยึดเอาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นศูนย์กลาง การใช้เกมถ่ายทอดมีเทคนิคดังนี้

2.1 เทคนิคที่ใช้ผู้สอน หรือ วิทยากรเป็นศูนย์กลาง 
  • ให้เกิดการเรียนรู้และ มีทัศนะคติที่ถูกต้อง
  • ให้เกิดความเข้าใจ
  • มักมีการสาธิต หรือ แสดงวิธีการ
  • มักมีการทดสอบผู้เข้ารีบการอบรม (Pretest - Post test)
  • มักมีการสร้างอารมณ์ขัน
  • มีการสรุปสาระ - ประเด็นให้ทราบ
2.2 เทคนิคการใช้ผู้เข้ารับการอบรมเป็นศูนย์กลาง
  • ให้ผู้อบรมมีส่วนร่วมทางความคิดหรือ ร่างกาย
  • ใช้กิจกรรมละลายพฤติกรรมประกอบ
  • เป็นการเรียนรู้โดยการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตัวผู้เรียนเอง
  • ก่อให้เกิดความสามารถ หรือ ฝึกฝนให้ความสามารถเพิ่มมากขึ้น
  • ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ กันและกัน
  • แก้ปัญญาในการทำงานโดยการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้
3. ประโยชน์ของเกมส์เพื่อการพัฒนาบุคลากร
เพื่อนำเกมหรือกิจกรรม มาใช้ในการพัฒนาบุคลากรในรูปแบบต่างๆ ขอแจ้งถึงประโยชน์ของการนำเกมมาใช้คือ 
  • เพื่อทำความรู้จักคุ้นเคยกันเมื่อแรกพบ
  • เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนได้สนิทสนมกันเร็วขึ้นกว่าที่จะรอไปทำความรู้จักกันเอง
  • ผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมมือในการเรียนรู้อย่างเต็มที่
  • ประสบการณ์เรียนรู้จากกิจกรรมจะช่วยให้ผู้เข้าอบรมรู้จักตนเองและบอกความสนใจของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น
  • บรรยากาศการเรียนรู้สนุกสนาน ไม่ได้รู้สึกว่ากำลังถูกสอน
  • เสริมสร้างบรรยากาศเป็นมิตรต่อการฝึกอบรม และผู้เข้ารับการอบรมสามารถเรียนรู้ได้ในระยะเวลาอันสั้น
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายและไม่เสี่ยงต่อผลการตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรม
  • ส่งเสริมให้เกินความกล้าแสดงออกต่อหน้าบุคคลอื่นๆ 

Monday 2 September 2013

เกมส์ และ กิจกรรม เพื่อการพัฒนาบุคลกร

เกมส์ (Game) หมายถึง การแข่งขัน การเล่นเพื่อสนุกสนาน หรือเล่นตามกติกา หรือ หมายถึง การเล่นแข่งขัน

กิจกรรม (Activity) หมายถึง การปฏิบัติกิจด้วยตนเอง คือ เป็นชุดของการปฏิบัติการต่างๆ ที่มีการเตรียมการ วางแผนไว้เรียบร้อยแล้วโดยจะมีผลตามคามคาดหมายที่เกิดขึ้น และมีวัตถุประสงค์ของแต่ละกิจกรรม

กิจกรรมกลุ่ม (Group Discussion) หมายถึง ชุดของกิจกรรมที่ได้วางแผนและจัดเตรียมไว้สำหรับคนสองคนขึ้นไปเป็นผู้กระทำกิจกรรมหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นๆ ซึ่งกิจกรรมกลุ่มจะมีวัตถุประสงค์ของกิจกรรมได้หลายประเภท

พัฒนา หมายถึง การทำให้เจริญ ทำให้ยั่งยืนถาวร

บุคคล หมายถึง คน คนธรรมดา คนสามัญทั้วไป

บุคลากร หมายถึง ผู้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา หรือ อบรมสั่งสอน

ดังนั้น เกมส์ และ กิจกรรม เพื่อการพัฒนาบุคลกร หมายถึง การปฏติบัติกิจกรรมด้วยการเล่นหรือการแข่งขันของผู้เข้ารับการอบรม โดยมีวัถุประสงค์เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถ ทัศนคติ และจริยธรรม ในการปฏิบัติงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธภาพ และมีประสิทธิผล