Showing posts with label เทคนิคการจัดกิจกรรม. Show all posts
Showing posts with label เทคนิคการจัดกิจกรรม. Show all posts

Tuesday 16 February 2016

ข้อมูลเบื้องต้นที่จำเป็นต้องทราบก่อนจัดเตรียมกิจกรรม เพื่อการพัฒนา

ในการดำเนินกิจกรรม เราจะต้องจัดเตรียมเกมส์กิจกรรม สถานที่ และ อุปกรณ์ ให้เหมาะสม แล้วเราจะทราบอย่างไรว่า อะไรเหมาะสมและ อะไรไม่เหมาะสม ดังนั้น เรามาดูกันว่า ผู้ดำเนินการจัดกิจกรรม จะต้องมีข้อมูลเบื้องต้นให้เห็นภาพผู้จะมาร่วมกิจกรรม และ นำไปสู่การจัดเตรียมได้อย่างเหมาะสม ไม่ไปตกม้าตายตอนจะเข้าสู่กระบวนการ...มีอะไรบ้าง ?

1) องค์กร และ ผู้บริหาร  (ต้องรู้อะไรบ้าง)

  • ความคาดหวังจากผู้บริหาร ที่มีต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม/เกมส์
  • เป้าหมาย ลักษณะงาน/ ตัวธุรกิจขององค์กร 
  • ความคาดหวังจากผู้บริหารที่มีต่อ ทีมงานวิทยากร

2) ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

  • จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 
  • เพศ อายุ สัดส่วนระหว่างหญิง/ชาย 
  • ตำแหน่งงานอะไรบ้าง อายุงาน ลักษณะงาน
  • และเคยเข้าร่วมกิจกรรมเช่นนี้มาก่อนหรือไม่ 

3) ก่อนจัดกิจกรรม ควรทำกิจกรรมอะไรก่อนเพื่อให้ได้มาซึ่งการรู้จักผู้เข้าร่วมเกมส์ กิจกรรม

  • ใช้แบบสอบถามเพื่อค้นหาความต้องการ ความจำเป็นในการอบรม 
  • ใช้การสัมภาษณฺผู้บริหารองค์กร เพื่อระบุเป้าหมาย และความคาดหวัง 
  • ใช้แบบสอบถาม เปิดใจสิ่งที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมคาดหวังในวันจัดกิจกรรมจริง 
ประโยชน์อื่นๆ จากข้อมูลพวกนี้ เรายังสามารถนำมาทำ KPI ในการวัดผลการจัดกิจกรรม ได้อีกด้วย 

พบกับตอนต่อไป ..เรื่องกระบวนการดำเนินการในห้องฝึกอบรม ในการดำเนินกิจกรรม ของผู้ดำเนินกิจกรรมเองด้วยค่ะ 


Saturday 14 September 2013

เทคนิคการจัดลำดับกิจกรรมต่างๆ (1)

เนื่องจากกิจกรรมด้านการพัฒนาบุคลากรแต่ละชนิด จะมีเป้าหมายด้านผลลัพธ์ ความเหมาะสมด้านบุคลิกภาพของแต่ละคน ต่อกลุ่มคน ต่อเวลา ตอสถานที่ ต่อสถานการณ์ต่างๆ กัน ในการวางแผนการจัดกิจกรรม จึงควรคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้

1) วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการจัดกิจกรรม หรือ เกม
     วิทยากรหรือผู้นำเกม จะมีความคาดหวัง เกิดความรู้สึก อารมณ์พึงพอใจ หรือลดภาวะการปิดกั้นตนเอง ป้องกันการไม่ไว้วางใจ ภาวะไม่เป็นเอกภาพ ความไม่มีอิสระภาพ อาจกำหนดเป้าหมายเป็นสัดส่วน น้ำหนัก หรือ อัตราร้อยละ

2) ชนิดของกิจกรรม
    เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์ได้แล้ว นั่นจึงจะสามารถกำหนดขนิดของกินกรรมได้ เช่น บางเกม หรือ บางกิจกรรมทำให้นรู้สึกพึงพอใจ บางกิจกรรมก่อความเครียด กังวล กดดัน มากกว่าจะสร้างความพึงพอใจ หรือบางกิจกรรมก่อความสนิทสนมคุ้นเคย รู้จักกันมากขึ้น มากว่าก่อให้เกิดความรู้สึกพึงพอใจเท่านั้น

3) ธรรมชาติของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
    บุคลแต่ละคนมีธรรมชาติหรือมีบุคลิกภาพแตกต่างกัน ผู้มาเข้าร่วมใหม่ๆ อาจไม่สนิทสนมกัน ต่างเพศกัน ต่างกลุ่มกัน อาจไม่ไว้วางใจกันและกัน ไม่คุ้เคยกัน หากมีภาวะเหล่านี้เกิดขึ้นกับผู้เข้าร่วมกิจกรรม วิทยากรหรือผู้นำเกม จะต้องจัดการวางแผนการนำเสอ ที่เหมาะสมต่อไป

4) หลักในการจัดลำดับเกม หรือ กิจกรรมต่างๆ 
    แนวกว้างๆ ในการลำดับกิจกรรม ดังนี้

  • เกมที่ทุกคนจะได้เริ่มเล่นอยู่กับที่ก่่อนในการเริ่มเล่น โดยอาจจะใช้การแสดงออกมาเล่น เช่น
      • การแสดงออกด้านเสียง
      • การแสดงออกกิริยาพร้อมกันอยู่กับที่  
      • ตย. เช่น การปรบมือกับที่พร้อมกัน การร้องเฮ้ หรือ เกมการนับขายโอ่ง หรือ เกมนายพลสั่ง เป็นต้น
  • เกมที่ทุกคนจะได้ไกล้ชิดกัน หรือ รู้สึกมีส่วนร่วมซึ่งกันและกัน โดยอาจลำดับความไกล้ชิดต่างๆ ตามเหมาะสม คือ 
      • ได้ไกล้ชิดด้านอารมณ์ ได้หัวเราะร่วมกัน 
      • ได้ไกล้ชิดด้านความคิด เช่น การรู้จักให้ การรู้จักรับ จากแต่ละฝ่าย
      • ความไกล้ชิดทางด้านร่างการ เช่นการเกี่ยวก้อย เกาะเอว การเคลื่อนไหวพร้อมกัน หรือ การบีบนวด เป็นต้น 
  • เกมที่เปิดโอกาสให้คนหนึ่งคนใดเป็นตัวแทนกลุ่มแสดงออกแล้วให้กลุ่มช่วยเชียร์ 
  • เกมที่เปิดโอกาสให้ทุกคนในกลุ่มหรือ ทีมร่วมกันแสดงเล่นหรือ แข่งขันกัน 

สรุป

เมื่อบรรยากาศต่างๆ ดีขึ้น การดำเนินกิจกรรมหรือเกมเหล่านี้ก็ค่อยๆ เพิ่มความรู้สึก จัดการอารมณ์และมีความเข้มข้นมากขึ้น เกิดโอกาสในการไกล้ชิดอารมณ์ ความคิด และการสัมผัสมากขึ้น เช่นเกมบางเกมมีการขี่หลัง หรือ เกาะเอว ลดทอดความห่างเหินและ เริ่มมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการต่อเนื่องกิจกรรมต่อไป