Friday 26 February 2016

การดำเนินการฝึกอบรม และการประเมินผล วัดผล และ ติดตามผล

เริ่มต้นด้วยก่อนการเปิดการอบรม เราต้องกำหนดดังนี้

1. กำหนดหลักสูตร ประกอบด้วย  (อันนี้คือ เราต้องรู้จุดประสงค์และเป้าหมายการอบรมจากข้อมูลเบื้องต้นมาแล้ว) 

  • หัวข้อการอบรมประกอบด้วยอะไรบ้าง 
  • กำหนดการอบรม เวลา และ ลำดับกำหนดการ
  • วิทยากรและประวัติวิทยากร 
  • สถานที่อบรม  ห้องอบรม
  • เครื่องมือ เครื่องใช้ในการอบรม 
  • เครื่องดิ่ม และ ของว่าง 
  • แบบสอบถาม แบบทดสอบต่างๆ 
  • ผู้ช่วยประานงานในการอบรม 
  • แบบประเมินการอบรม
  • การรายงานผลการอบรม
  • ภาพถ่าย 

2. หน่วยงานเกี่ยวข้อง ในการอบรม มีการจัดเตรียมเพื่อยืนหลักสูตรให้แก่ กรมพัฒนาฝีมือแรงงานด้วยหรือไม้ หากใช้ร่วมกัน การกำหนด หรือ จัดทำ ข้อ 1 ต้องสอดคล้องกับระเบียบและเอกสารแบบฟอร์มของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ในส่วนนี้ขอ Limk URL งานฝึกอบรมตามแบบกรมพัฒฯ ไว้ก่อน จบบทแล้ว ผู้เขียนจะ บอกระเบียบและ ให้วิธีการกรอกแบบ ตัวอย่างทั้งหมด รวมถึงระเบียบการจัดทำตามเกณฑ์ของกรมฯ ในตอนต่อๆ ไป (คงอีกหลายตอนค่ะ)


3. การประเมินผล การวัดผล และ การติดตามผล คืออะไร?

3.1 การวัดผล และการประเมินผล คือ กระบวนการในกรที่เรากำหนดค่าตัวเลขเป็นเกณฑฺ์ต่างๆ กับเหตุการณ์ต่างๆ อย่างมีหลักเกณฑ์ การเปรียบเทียบผลกับเป้าหมายอย่างมีหลักมีเกณฑ์เช่นกัน โดยใช้ การประเมิน ค่านิยมกับดุลพินิจความคาดหวังที่ได้รับ ตามวั๖ถุประสงค์ที่ตั้งหรือ คาดหวังไว้


3.2 การติดตามผล คือ ขั้นตอนภายหลังการฝึกอบรมผ่านไปแล้ว ระยะหนึ่ง แล้วองค์กร ต้องการทราบว่า โครงการที่จัดในการพัฒนาบุคลากรไปได้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการหรือไม่ ได้แก่


  • เป็นประโยชน์ต่องานหรือไม่ อย่างไร 
  • เป็นประโยชน์ใดๆ ต่อผู้อบรมหรือไม่ ระดับใด 
  • มีผลต่อหน่วยงานหรือไม่ อย่างไร มากขึ้น เลวลง หรือ ไม่มีผลใดๆ เลย 
  • ผู้ได้รับการอบรมไปแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการทำงานให้หน่วยงานหรือไม่ อย่างไร 
ได้รับการติดตามเบื้องต้น 4  ประเด็นข้างต้นนี้ก็หรูแล้วหละค่ะ

4. ทำไมต้องมีการประเมิน 

เคยมีคำถามมั้ย ทำไมต้องมีการประเมินผลด้วย ไม่ทำได้มั้ย ตอบว่าได้ค่ะ ถ้าแต่อบรมไปตามหน้าที่คือ สักแต่ว่าทำเพื่อยื่นกรมฯ อย่างเดียว แต่ถ้าเพื่อความคุ้มค้่าในการลงทุนต่อการพัฒนามนุษย์ และ เอาสัดส่วนมาทำ KPI วัด Ratio การพัฒนามนุษย์ต่อผลกำไร ต่อการลงทุน ก็ควรติดตามและประเมินผลกันบ้างค่ะ (แต่ไม่แน่นะคะ ผบ. บางท่านก็ไม่ค่อยอยากรู้ เพราะไม่อยากเสียเงินพัฒนาคน ก็มีค่ะ เคยประสบมาเหมือนกัน)   


เหตุผลที่ควรทำการประเมินคือ ....
  • ต้องการทราบความสัมฤทธิผลของโครงการอบรม หรือ การเล่นเกมส์พัฒนามนุษย์ 
  • ต้องการทราบจุดบกพร่อง ข้อดี ข้อเสีย ความเหมาะสมของกิจกรรม ปัญหาอุปสรรคของกิจกรรม 
  • ต้องการทราบความคุ้มค่าของกิจกรรม ประโยชน์จริงๆ การได้นำไปใช้ในงานจริงๆ 
  • ต้องการทราบพฤติกรรมที่เห็นจากการอบรมในตัวบุคลากร จุดเด้่น จุดด้อย ความสามารถมากน้อย
  • ผู้บริหารกับการบริหารทีมงาน นำไปสู่การพัฒนา เครื่องมือที่จะนำไปใช้ในอนาคตเพื่อการบริหารงาน   


5. ใครเป็นผู้ประเมิน 

เราสามารถให้บุคคลเหล่านี้ประเมินได้หมด แต่ต้องเกี่ยวข้องกับกิจกรรม เกมส์ และ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้เข้าอบรม  ได้แก่

  • ผู้จัดเกมส์ ผู้จัดอบรม หรือ กิจกรรม หน. โครงการ 
  • ผู้ถ่ายทอด วิทยากร ผู้นำเกมส์
  • หัวหน้างาน
  • แผนกหรือฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 
  • ลูกค้า และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ 


6. ประเมินอะไร ประเภทไหน   

ทีนี้มาสู่ส่วนสำคัญว่าแล้วจะประเมินอะไร เพราะลักษณะการประเมินจาก แต่ละส่วนข้างต้น มีมุมมองการประเมินไม่เหมือนกันนะคะ

6.1 เนื้อหา   ควรมีการประเมินเนื้อหา จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการประเมินส่วนนี้ สาระที่ได้จัดเตรียมมีความเหมาะสม ประโยชน์ประยุกค์ใช้ภายหลังการอบรมได้หรือไม่ ก็มาจากจุดนี้ก่อน

6.2 บรรยากาศ ได้แก่ การประเมินความพร้อมของสถานที่ การเล่นเกมส์ การควบคุมเกมส์ เวลาที่ใช้ไป สื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ และ การบริหารบรรยากาศ กับ การบริหารเกมส์

6.3  ผลของการเรียนรู้  ส่วนนี้ประเมินเขารับรู้และแจ้งว่าได้รับความรู้แค่ไหน เข้าใจแค่ไหน มากน้อยอย่างไร มีทัศนคติอย่างไร และ คิดเห็นต่อกิจกรรมอย่างไร มีข้อแนะนำใดๆ ที่ต้องการเสนอบ้าง

6.4 พฤติกรรม คือ การประเ้มินในรูปแบบแะ เปรียบเทียบถึงสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คือ ก่อนการอบรม และ หลังการอบรมเป็นอย่างไร มีความก้าวหน้าไปหรือไม่อย่างไร

6.5 ผลลัพภ์ หรือ ผลกระทบ คือ การประเมินประสิทธิผลหรือการอบรมในแง่ของผลที่วัดได้ภายหลังการอบรม เช่นยอดขาย คะแนน เป็นต้น


7. ข้อมูลที่จะจัดเก็บจากการประเมินผล

ในการจะทำการประเมินมีรูปแบบการประเมินหลากหลาย สามารถเก็บข้อมูลได้จากวิธีการต่างๆ ดังนี้

  • แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังการอบรม (Pre Test & Post Test) 
  • การสัมภาษณ์ ( Interview) 
  • การสังเกตุการณ์  ( Observation)
  • การฝึกปฏิบัติ (Practice) 
  • ให้ทำแบบฝึกหัด (Exercise)
  • แบบสอบถาม ( Questionnaire)   
  • แผนปฏิบัติการของผู้เข้าอบรม แบบสมมุติคำถาม จำลองเหตุการณ์
  • ผลที่ได้จากการทำงาน เช่น ตัวเลข การสอบถามจากผู้ใช้บริการ เป็นต้น 
 ทั้งหมดนี้ก็วกแบบไปที่ 6 เป็นกลุ่มๆ ของการหาข้อมูล 5 ด้านมาประกอบการประเมิน

บทต่อไป จะลำดับขั้นตอนการประเมินตลอดไปจนถึงการทำรายงานค่ะ ...ติดตามตอนต่อไปนะเป็นแบบนำไปใช้ประกอบทำโครงการได้เลยค่ะ (ข้อมูลเท่านั้นนะไม่เกี่ยวกับ Template นั่นโปรดไปสร้าง
เองตามแต่ละองค์กรค่ะ ถนัดอะไร

8. ประเภทของการประเมินผล ขอแบ่งหัวข้อหลักๆ ออกเป็น 4 ประเภท หรือ 4 หมวด ที่จะนำไปประเมิน ได้แก่


  1. หมวดปฏิกิริยา คือประเมินว่า มีการใช้เอกสารอบรมอย่างไร พอใจแค่ไหน เข้าใจอย่างไร  การเข้าใจเนื้อหาสาระ การปฏิบัติต่อสถานที่ และการบริหารงานต่างๆ รวมทั้งเวลาในการอบรม 
  2. หมวดการเรียนรู้ คือ ประเมินว่า ผู้อบรมได้รับความรู้มากขึ้นก่อนหลังการอบรม ได้ความรู้ใหม่ๆ หรือไม่ มีการได้รับรู้สิ่งใหมๆ อะไรบาง คือ เปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงไร มากน้อย ยังไง 
  3. หมวดพฤติกรรม คือ ประเมินถึงสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากการอบรมไปแล้ว 
  4. หมวดผลลัพภ์ คือ การวัดผลเป็นประสิทธิผล ประสิทธิภาพ คือ วัดเป็นตัวเลข เป็นยอดขาย เป็นผลงาน เร็วขึ้น มากน้อย ลดลง เป็นต้น 
ในบทต่อไปจะจำลองการเขียนโครงการ เลยค่ะ

พบกันใหม่ค่ะ See You later ....  



No comments:

Post a Comment