Showing posts with label การฝึกอบรม. Show all posts
Showing posts with label การฝึกอบรม. Show all posts

Friday 26 February 2016

การดำเนินการฝึกอบรม และการประเมินผล วัดผล และ ติดตามผล

เริ่มต้นด้วยก่อนการเปิดการอบรม เราต้องกำหนดดังนี้

1. กำหนดหลักสูตร ประกอบด้วย  (อันนี้คือ เราต้องรู้จุดประสงค์และเป้าหมายการอบรมจากข้อมูลเบื้องต้นมาแล้ว) 

  • หัวข้อการอบรมประกอบด้วยอะไรบ้าง 
  • กำหนดการอบรม เวลา และ ลำดับกำหนดการ
  • วิทยากรและประวัติวิทยากร 
  • สถานที่อบรม  ห้องอบรม
  • เครื่องมือ เครื่องใช้ในการอบรม 
  • เครื่องดิ่ม และ ของว่าง 
  • แบบสอบถาม แบบทดสอบต่างๆ 
  • ผู้ช่วยประานงานในการอบรม 
  • แบบประเมินการอบรม
  • การรายงานผลการอบรม
  • ภาพถ่าย 

2. หน่วยงานเกี่ยวข้อง ในการอบรม มีการจัดเตรียมเพื่อยืนหลักสูตรให้แก่ กรมพัฒนาฝีมือแรงงานด้วยหรือไม้ หากใช้ร่วมกัน การกำหนด หรือ จัดทำ ข้อ 1 ต้องสอดคล้องกับระเบียบและเอกสารแบบฟอร์มของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ในส่วนนี้ขอ Limk URL งานฝึกอบรมตามแบบกรมพัฒฯ ไว้ก่อน จบบทแล้ว ผู้เขียนจะ บอกระเบียบและ ให้วิธีการกรอกแบบ ตัวอย่างทั้งหมด รวมถึงระเบียบการจัดทำตามเกณฑ์ของกรมฯ ในตอนต่อๆ ไป (คงอีกหลายตอนค่ะ)


3. การประเมินผล การวัดผล และ การติดตามผล คืออะไร?

3.1 การวัดผล และการประเมินผล คือ กระบวนการในกรที่เรากำหนดค่าตัวเลขเป็นเกณฑฺ์ต่างๆ กับเหตุการณ์ต่างๆ อย่างมีหลักเกณฑ์ การเปรียบเทียบผลกับเป้าหมายอย่างมีหลักมีเกณฑ์เช่นกัน โดยใช้ การประเมิน ค่านิยมกับดุลพินิจความคาดหวังที่ได้รับ ตามวั๖ถุประสงค์ที่ตั้งหรือ คาดหวังไว้


3.2 การติดตามผล คือ ขั้นตอนภายหลังการฝึกอบรมผ่านไปแล้ว ระยะหนึ่ง แล้วองค์กร ต้องการทราบว่า โครงการที่จัดในการพัฒนาบุคลากรไปได้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการหรือไม่ ได้แก่


  • เป็นประโยชน์ต่องานหรือไม่ อย่างไร 
  • เป็นประโยชน์ใดๆ ต่อผู้อบรมหรือไม่ ระดับใด 
  • มีผลต่อหน่วยงานหรือไม่ อย่างไร มากขึ้น เลวลง หรือ ไม่มีผลใดๆ เลย 
  • ผู้ได้รับการอบรมไปแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการทำงานให้หน่วยงานหรือไม่ อย่างไร 
ได้รับการติดตามเบื้องต้น 4  ประเด็นข้างต้นนี้ก็หรูแล้วหละค่ะ

4. ทำไมต้องมีการประเมิน 

เคยมีคำถามมั้ย ทำไมต้องมีการประเมินผลด้วย ไม่ทำได้มั้ย ตอบว่าได้ค่ะ ถ้าแต่อบรมไปตามหน้าที่คือ สักแต่ว่าทำเพื่อยื่นกรมฯ อย่างเดียว แต่ถ้าเพื่อความคุ้มค้่าในการลงทุนต่อการพัฒนามนุษย์ และ เอาสัดส่วนมาทำ KPI วัด Ratio การพัฒนามนุษย์ต่อผลกำไร ต่อการลงทุน ก็ควรติดตามและประเมินผลกันบ้างค่ะ (แต่ไม่แน่นะคะ ผบ. บางท่านก็ไม่ค่อยอยากรู้ เพราะไม่อยากเสียเงินพัฒนาคน ก็มีค่ะ เคยประสบมาเหมือนกัน)   


เหตุผลที่ควรทำการประเมินคือ ....
  • ต้องการทราบความสัมฤทธิผลของโครงการอบรม หรือ การเล่นเกมส์พัฒนามนุษย์ 
  • ต้องการทราบจุดบกพร่อง ข้อดี ข้อเสีย ความเหมาะสมของกิจกรรม ปัญหาอุปสรรคของกิจกรรม 
  • ต้องการทราบความคุ้มค่าของกิจกรรม ประโยชน์จริงๆ การได้นำไปใช้ในงานจริงๆ 
  • ต้องการทราบพฤติกรรมที่เห็นจากการอบรมในตัวบุคลากร จุดเด้่น จุดด้อย ความสามารถมากน้อย
  • ผู้บริหารกับการบริหารทีมงาน นำไปสู่การพัฒนา เครื่องมือที่จะนำไปใช้ในอนาคตเพื่อการบริหารงาน   


5. ใครเป็นผู้ประเมิน 

เราสามารถให้บุคคลเหล่านี้ประเมินได้หมด แต่ต้องเกี่ยวข้องกับกิจกรรม เกมส์ และ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้เข้าอบรม  ได้แก่

  • ผู้จัดเกมส์ ผู้จัดอบรม หรือ กิจกรรม หน. โครงการ 
  • ผู้ถ่ายทอด วิทยากร ผู้นำเกมส์
  • หัวหน้างาน
  • แผนกหรือฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 
  • ลูกค้า และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ 


6. ประเมินอะไร ประเภทไหน   

ทีนี้มาสู่ส่วนสำคัญว่าแล้วจะประเมินอะไร เพราะลักษณะการประเมินจาก แต่ละส่วนข้างต้น มีมุมมองการประเมินไม่เหมือนกันนะคะ

6.1 เนื้อหา   ควรมีการประเมินเนื้อหา จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการประเมินส่วนนี้ สาระที่ได้จัดเตรียมมีความเหมาะสม ประโยชน์ประยุกค์ใช้ภายหลังการอบรมได้หรือไม่ ก็มาจากจุดนี้ก่อน

6.2 บรรยากาศ ได้แก่ การประเมินความพร้อมของสถานที่ การเล่นเกมส์ การควบคุมเกมส์ เวลาที่ใช้ไป สื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ และ การบริหารบรรยากาศ กับ การบริหารเกมส์

6.3  ผลของการเรียนรู้  ส่วนนี้ประเมินเขารับรู้และแจ้งว่าได้รับความรู้แค่ไหน เข้าใจแค่ไหน มากน้อยอย่างไร มีทัศนคติอย่างไร และ คิดเห็นต่อกิจกรรมอย่างไร มีข้อแนะนำใดๆ ที่ต้องการเสนอบ้าง

6.4 พฤติกรรม คือ การประเ้มินในรูปแบบแะ เปรียบเทียบถึงสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คือ ก่อนการอบรม และ หลังการอบรมเป็นอย่างไร มีความก้าวหน้าไปหรือไม่อย่างไร

6.5 ผลลัพภ์ หรือ ผลกระทบ คือ การประเมินประสิทธิผลหรือการอบรมในแง่ของผลที่วัดได้ภายหลังการอบรม เช่นยอดขาย คะแนน เป็นต้น


7. ข้อมูลที่จะจัดเก็บจากการประเมินผล

ในการจะทำการประเมินมีรูปแบบการประเมินหลากหลาย สามารถเก็บข้อมูลได้จากวิธีการต่างๆ ดังนี้

  • แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังการอบรม (Pre Test & Post Test) 
  • การสัมภาษณ์ ( Interview) 
  • การสังเกตุการณ์  ( Observation)
  • การฝึกปฏิบัติ (Practice) 
  • ให้ทำแบบฝึกหัด (Exercise)
  • แบบสอบถาม ( Questionnaire)   
  • แผนปฏิบัติการของผู้เข้าอบรม แบบสมมุติคำถาม จำลองเหตุการณ์
  • ผลที่ได้จากการทำงาน เช่น ตัวเลข การสอบถามจากผู้ใช้บริการ เป็นต้น 
 ทั้งหมดนี้ก็วกแบบไปที่ 6 เป็นกลุ่มๆ ของการหาข้อมูล 5 ด้านมาประกอบการประเมิน

บทต่อไป จะลำดับขั้นตอนการประเมินตลอดไปจนถึงการทำรายงานค่ะ ...ติดตามตอนต่อไปนะเป็นแบบนำไปใช้ประกอบทำโครงการได้เลยค่ะ (ข้อมูลเท่านั้นนะไม่เกี่ยวกับ Template นั่นโปรดไปสร้าง
เองตามแต่ละองค์กรค่ะ ถนัดอะไร

8. ประเภทของการประเมินผล ขอแบ่งหัวข้อหลักๆ ออกเป็น 4 ประเภท หรือ 4 หมวด ที่จะนำไปประเมิน ได้แก่


  1. หมวดปฏิกิริยา คือประเมินว่า มีการใช้เอกสารอบรมอย่างไร พอใจแค่ไหน เข้าใจอย่างไร  การเข้าใจเนื้อหาสาระ การปฏิบัติต่อสถานที่ และการบริหารงานต่างๆ รวมทั้งเวลาในการอบรม 
  2. หมวดการเรียนรู้ คือ ประเมินว่า ผู้อบรมได้รับความรู้มากขึ้นก่อนหลังการอบรม ได้ความรู้ใหม่ๆ หรือไม่ มีการได้รับรู้สิ่งใหมๆ อะไรบาง คือ เปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงไร มากน้อย ยังไง 
  3. หมวดพฤติกรรม คือ ประเมินถึงสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากการอบรมไปแล้ว 
  4. หมวดผลลัพภ์ คือ การวัดผลเป็นประสิทธิผล ประสิทธิภาพ คือ วัดเป็นตัวเลข เป็นยอดขาย เป็นผลงาน เร็วขึ้น มากน้อย ลดลง เป็นต้น 
ในบทต่อไปจะจำลองการเขียนโครงการ เลยค่ะ

พบกันใหม่ค่ะ See You later ....  



Tuesday 16 February 2016

การจัดเตรียมอุปกรณ์ ควรคำนึงถึงอะไรบ้างในการจัดเตรียม

อุปกรณ์ที่ใช้ในแต่ละกิจกรรมเหล่านี้  จะเป็นเสมือนเครื่องอำนวยความสะดวกในการเล่นกิจกรรมค่ะ!  

นับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดบรรยากาศสนุุกสนาน และมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการดำเนินกิจกรรม ส่งผลทั้งผู้จัดและผู้เข้าร่วมกิจกรรม  ดังนั้นอุปกรณ์จึงเป็นวสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการจัดกิจกรรม นอกเหนือจากสถานที่ในการจัดแล้ว ในการจะจัดสรรอุปกรณ์ มีข้อควรคำนึงอีกหลายๆ ด้านเหมือนกันค่ะ ได้แก่

  • ขนาดและมาตรรฐานของอุปกรณ์ควรเลือกให้เหมาะกับระดับของผู้เข้าร่วมกิจกรรม 
  • ควรต้องจัดให้เพียงพอต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  • ต้องปลอดภัยใช้การได้เสมอ
  • ควรมีหลากหลาย และเหมาะสมกับกิจกรรมนั้นๆ 
  • ควรคำนึงถึงความสะอาด ความสะดวก และแข็งแรงเสมอ
  •  ควรตรวจสอบก่อนการใช้ครั้งจ่อไปเสมอ เช่น กระดาษ สิ่งของต่างๆ อาจมีผู้อื่นขีดเขียนไว้ หรือ แอบเฉลยไว้แล้ว เป็นต้น 
  • ควรมีการเตรียมสำรองไว้ เผื่อขาด หรือมีจำนวนไม่เพียงพอ กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม 
  • ควรใช้อุปกรณ์ที่ไม่สิ้นเปลือง หรือ ค่าใช้จ่ายไม่สูง ประหยัด ประโยชน์ ปลอดภัย มีประสทิธิภาพ และให้ประสิทธิผลในการเล่นเกมส์ 
  • ผู้ดำเนินกิจกรรม ควรศึกษาค้นคว้าการเรียนรู้ หรือ ฝึกเข้าร่วมใช้อุปกรณ์กับกิจกรรมอื่นๆ เพื่อความหลากหลายต่อการใช้งานอุปกรณ์ และศึกษาค้นคว้าทดลองฝึกเกมส์กับอุปกรณ์ที่ไม่เคยพบเห็นบ้าง 
สุดท้าย ข้อนี้สำคัญและจำเป็นยิ่ง คือก่อนจัดกิจกรรม ควรมีการละลายพฤติกรรม หรือ อบอุ่นวอร์มร่างกาย สมอง อารมณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เสมอ ...

อุปกรณ์อะไรบ้างของผู้ดำเนินกิจกรรมจะใช้ 

อุปกรณ์ในการดำเนินกิจกรรมที่พอจะเสนอในที่นี้ เหมาะสำหรับการทำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ จัดเกมส์ หรือ กิจกรรม รูปแบบต่างๆ

        • นกหวีด 
        • ปากกา ปากกาสี สีเทียน ดินสอ 
        • อุปกรณ์เล่นเกมส์ทั่วๆไป กระดาษเล็กๆ กระดาษบรรยาย กระดาษระดมสมอง 
        • ใบบันทึกผลคะแนน (อาจเตรียมล่วงหน้า)
        • เทปเพลงต่างๆ 
        • วีดีโอสาธิต
        • เครื่องเล่นเทป เครื่องเสียง 
        • เครื่องฉายแผ่นใส แผ่นใส ปากกา 
        •  กลอง
        • ฉิ่ง ฉาบ 
        • ไม้สำหรับเคาะ หรือ เหล็กสำหรับเคาะ
        • ผ้าสีต่างๆ สำหรับธง สำหรับโพกหัว เป็นต้น
        • เครื่องปฐมพยาบาล 
        • กล่องต่างๆ 
        • เชือกต่างๆ 
        • อื่นๆ ที่เกมส์ต้องใช้ 


(เทคนิตการจัดเกมส์และกิจกรรม / Human Resource Development Series)
 

Tuesday 3 September 2013

เกม หรือ กิจกรรม ที่ดี แบ่งได้ 6 ประเภท

ลักษณะ ของเกมหรือกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพ ต่อการพัฒนาบุคลากร จะต้องมีดังนี้

  • เน้นศูนย์กลางการเรียนรู้อยู่ที่ผู้เข้ารับการอบรม
  • ผู้เข้ารับการอบรมมีโอกาสแสดงออกอย่างทั่วถึง ให้ทุกคนมีส่วนร่วม
  • สร้างบรรยากาศเป็นกันเอง และให้เกียรติผู้เข้ารับการอบรมทุกคน
  • ได้สาระประโยชน์ พร้อมๆความสนุกสนานเพลิดเพลิน
  • วิทยากรจะทำหน้าที่อำนวยความสะดวก และประสานให้กิจกรรมดำเนินไปอย่างราบรื่น
  • มีสถานะการแข่งขันเชิงสร้างสรรค์
  • มีความหลากหลายในรูปแบบ
  • แต่ละขั้นก็การดำเนินกิจกรรม ต้องมีความต่อเนื่อง เชื่อมโยงกันอย่างครบถ้วน
  • หากมีการต่อรองการดำเนินกิจกรรม ควรมีการสอบถามความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมการอบรมก่อน
กิจกรรมที่ใช้พัฒนาบุคลากร แบ่งรูปแบบ ออกเป็น 6 ประเภท

1. กิจกรรมละลายพฤติกรรม (Breaking the Ice)
มีวัตถุประสงค์สำคัญคือ มุ่งสร้างความรู้จัก คุ้นเคยระหว่างผู้เข้ารับการอบรม ซึ่งมาจากที่ต่างๆ ฝ่ายหรือแผนกงานต่างๆกัน เกมส์จะช่วยอุ่นเครื่อง สร้างบรรยากาศการเปิดเผยตัวเองให้ผู่้อื่นรู้จัก อันจะเป็นประโยชน์

2. กิจกรรมเพื่อประสบการณ์เรียนรู้ (Classroom Activities Games)
เป็นเกมที่เน้นสาระรวบยอด เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทัศนคติ ความเข้าใจ และก่อให้เกิดทักษะใหม่ๆ อันจะนำไปใช้ในการบริหารงานและดำเนินชีวิต

3. กิจกรรมสันทนาการหรือนันทนาการ (Recreation Games)
เป็นการเสริมบรรยากาศให้มีความสนุกสนาน รื่นเริง เพื่อให้คลายจากความตึงเครียด ทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้เข้าร่วมการอบรมให้มากยิ่งขึ้น ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในการรวมกลุ่ม หรือ พบปะสังสรรค์

4. กิจกรรมเข้าจังหวะ (Rhythmic Activities) 
เป็นกิจกรรมที่ร่างกายและจิตใจมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อดนตรี และจังหวะที่ใช้ประกอบ ได้แก่ เสียงเพลง การเคาะไม้ เคาะเหล็ก ฉิ่ง ฉาบ กลอง เป็นต้น และขอบข่ายของกิจกรรมเข้าจังหวะ มีหลายรูปแบบอีกเช่นกัน ได้แก่ 
    • การเคลื่อนไหวเบื้องต้น เช่นการเดิน วิ่งกระโดด ควบม้า โดยเคลื่อนไหวเข้ากับจังหวะ
    • การเลียนแบบธรรมชาติ หรือ สิ่งทั่วๆไปต่างๆ เช่น เดินเป็ด ช้างเดิน รถไฟวิ่ง
    • การเล่นประกอบเพลง เช่น รีรีข้าวสาร โพงพาง งูกินหาง มอญซ่อนผ้า
    • การเคลื่อนไหวตามบทเพลง คือ การเคลื่อนไหวให้เข้ากับจังหวะดนตรี หรือ สอดคล้องกับเนื้อเพลงที่ร้อง
    • การเล่นแบบคิดสร้างสรรค์ คือ การแสดงแบบสมมุติ เช่น เป็นคนตัดต้นไม้ เป็นตำรวจ การแสดงอาการเสียใจหรือดีใจ
    • การเล่นแบบพื้นเมืองนานาชาติ การลีลาศ ได้แก่การเต้นรำพื้นเมืองของแต่ละประเทศ 


5. กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพ (Self Testing Activities) 
เป็นการเล่นผาดโผนส่งเสริมความสามารถด้านดวามแข็งแรง สมรรถภาพทางกาย ส่งเสริมการเจริญของกล้ามเนื้อหลักในการเคลื่อนไหว และความยืดหยุ่นของข้อต่างๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ยังเป็นการวัดประสิทธภาพของร่างกายอีกด้วย ได้แก่

    • กิจกรรมทดสอบรายบุคคล ได้แก่ ตุ๊กตาล้มลุก ยืนย่อเข่าข้างเดียวดันพื้นปรบมือ ฯลฯ
    • กิจกรรมทดสอบเป็นคู่ เป็นกลุ่ม ได้แก่ แฝดสยาม เก้าอี้โยกคนลอย
    • กิจกรรมผาดโผน ได้แก่ กบกระโดด หนอนยืด สุนัขหักขา ฯลฯ

6. กิจกรรมวอล์คแรลลี่ (Walk Rally) 
ในปัจจุบันหลายๆองค์กรได้หันมาใช้วิธีการพัฒนาบุคลากรวิธีหนึ่ง คือ กิจกรรมวอล์คแรลลี่ (Walk Rally) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างประสบการณ์ตรง มีการเรียนรู้ภายใต้เงื่อไขที่กำหนด และมีการแข่งขันระหว่างกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่ผสมผสานหลายๆ กิจกรรมเข้าด้วยกัน และยังเป็นกิจกรรมทดสอบสมรรถภาพซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยเกมจากการลงมือปฏิบัติ หรือ เข้าร่วมกิจกรรมโดยตรง ซึ่งวิธีการฝึกอบรมโดใช้วิล์คแรลลี่ที่จะช่วยลดความเบื่อหน่ายในห้องฝึกอบรม และเสริมสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่สนุกสนาน และตื่นเต้นอีกด้วย

เนื่องจากความสนใจในการพัฒนาบุคลากรขององค์กรหลายๆแห่งได้หันมาให้ความสำคัญและสนใจพัฒนาคนให้มีทักษะ และความสามารถในการประสานประโยชน์ของตนให้เข้ากับทีมงาน และองค์กรด้วยกิจกรรมการจัดกลุ่มสัมพันธ์ และการวอล์คแรลลี่ ไม่เพียงแต่เสริมสร้างและพัฒนาทีมแต่ยังพัฒนาหลัการเรียนรู้ วิธีการหรือเทคนิคจากการดำเนินกิจกรรมด้วย