Tuesday 3 September 2013

เกม หรือ กิจกรรม ที่ดี แบ่งได้ 6 ประเภท

ลักษณะ ของเกมหรือกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพ ต่อการพัฒนาบุคลากร จะต้องมีดังนี้

  • เน้นศูนย์กลางการเรียนรู้อยู่ที่ผู้เข้ารับการอบรม
  • ผู้เข้ารับการอบรมมีโอกาสแสดงออกอย่างทั่วถึง ให้ทุกคนมีส่วนร่วม
  • สร้างบรรยากาศเป็นกันเอง และให้เกียรติผู้เข้ารับการอบรมทุกคน
  • ได้สาระประโยชน์ พร้อมๆความสนุกสนานเพลิดเพลิน
  • วิทยากรจะทำหน้าที่อำนวยความสะดวก และประสานให้กิจกรรมดำเนินไปอย่างราบรื่น
  • มีสถานะการแข่งขันเชิงสร้างสรรค์
  • มีความหลากหลายในรูปแบบ
  • แต่ละขั้นก็การดำเนินกิจกรรม ต้องมีความต่อเนื่อง เชื่อมโยงกันอย่างครบถ้วน
  • หากมีการต่อรองการดำเนินกิจกรรม ควรมีการสอบถามความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมการอบรมก่อน
กิจกรรมที่ใช้พัฒนาบุคลากร แบ่งรูปแบบ ออกเป็น 6 ประเภท

1. กิจกรรมละลายพฤติกรรม (Breaking the Ice)
มีวัตถุประสงค์สำคัญคือ มุ่งสร้างความรู้จัก คุ้นเคยระหว่างผู้เข้ารับการอบรม ซึ่งมาจากที่ต่างๆ ฝ่ายหรือแผนกงานต่างๆกัน เกมส์จะช่วยอุ่นเครื่อง สร้างบรรยากาศการเปิดเผยตัวเองให้ผู่้อื่นรู้จัก อันจะเป็นประโยชน์

2. กิจกรรมเพื่อประสบการณ์เรียนรู้ (Classroom Activities Games)
เป็นเกมที่เน้นสาระรวบยอด เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทัศนคติ ความเข้าใจ และก่อให้เกิดทักษะใหม่ๆ อันจะนำไปใช้ในการบริหารงานและดำเนินชีวิต

3. กิจกรรมสันทนาการหรือนันทนาการ (Recreation Games)
เป็นการเสริมบรรยากาศให้มีความสนุกสนาน รื่นเริง เพื่อให้คลายจากความตึงเครียด ทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้เข้าร่วมการอบรมให้มากยิ่งขึ้น ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในการรวมกลุ่ม หรือ พบปะสังสรรค์

4. กิจกรรมเข้าจังหวะ (Rhythmic Activities) 
เป็นกิจกรรมที่ร่างกายและจิตใจมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อดนตรี และจังหวะที่ใช้ประกอบ ได้แก่ เสียงเพลง การเคาะไม้ เคาะเหล็ก ฉิ่ง ฉาบ กลอง เป็นต้น และขอบข่ายของกิจกรรมเข้าจังหวะ มีหลายรูปแบบอีกเช่นกัน ได้แก่ 
    • การเคลื่อนไหวเบื้องต้น เช่นการเดิน วิ่งกระโดด ควบม้า โดยเคลื่อนไหวเข้ากับจังหวะ
    • การเลียนแบบธรรมชาติ หรือ สิ่งทั่วๆไปต่างๆ เช่น เดินเป็ด ช้างเดิน รถไฟวิ่ง
    • การเล่นประกอบเพลง เช่น รีรีข้าวสาร โพงพาง งูกินหาง มอญซ่อนผ้า
    • การเคลื่อนไหวตามบทเพลง คือ การเคลื่อนไหวให้เข้ากับจังหวะดนตรี หรือ สอดคล้องกับเนื้อเพลงที่ร้อง
    • การเล่นแบบคิดสร้างสรรค์ คือ การแสดงแบบสมมุติ เช่น เป็นคนตัดต้นไม้ เป็นตำรวจ การแสดงอาการเสียใจหรือดีใจ
    • การเล่นแบบพื้นเมืองนานาชาติ การลีลาศ ได้แก่การเต้นรำพื้นเมืองของแต่ละประเทศ 


5. กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพ (Self Testing Activities) 
เป็นการเล่นผาดโผนส่งเสริมความสามารถด้านดวามแข็งแรง สมรรถภาพทางกาย ส่งเสริมการเจริญของกล้ามเนื้อหลักในการเคลื่อนไหว และความยืดหยุ่นของข้อต่างๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ยังเป็นการวัดประสิทธภาพของร่างกายอีกด้วย ได้แก่

    • กิจกรรมทดสอบรายบุคคล ได้แก่ ตุ๊กตาล้มลุก ยืนย่อเข่าข้างเดียวดันพื้นปรบมือ ฯลฯ
    • กิจกรรมทดสอบเป็นคู่ เป็นกลุ่ม ได้แก่ แฝดสยาม เก้าอี้โยกคนลอย
    • กิจกรรมผาดโผน ได้แก่ กบกระโดด หนอนยืด สุนัขหักขา ฯลฯ

6. กิจกรรมวอล์คแรลลี่ (Walk Rally) 
ในปัจจุบันหลายๆองค์กรได้หันมาใช้วิธีการพัฒนาบุคลากรวิธีหนึ่ง คือ กิจกรรมวอล์คแรลลี่ (Walk Rally) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างประสบการณ์ตรง มีการเรียนรู้ภายใต้เงื่อไขที่กำหนด และมีการแข่งขันระหว่างกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่ผสมผสานหลายๆ กิจกรรมเข้าด้วยกัน และยังเป็นกิจกรรมทดสอบสมรรถภาพซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยเกมจากการลงมือปฏิบัติ หรือ เข้าร่วมกิจกรรมโดยตรง ซึ่งวิธีการฝึกอบรมโดใช้วิล์คแรลลี่ที่จะช่วยลดความเบื่อหน่ายในห้องฝึกอบรม และเสริมสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่สนุกสนาน และตื่นเต้นอีกด้วย

เนื่องจากความสนใจในการพัฒนาบุคลากรขององค์กรหลายๆแห่งได้หันมาให้ความสำคัญและสนใจพัฒนาคนให้มีทักษะ และความสามารถในการประสานประโยชน์ของตนให้เข้ากับทีมงาน และองค์กรด้วยกิจกรรมการจัดกลุ่มสัมพันธ์ และการวอล์คแรลลี่ ไม่เพียงแต่เสริมสร้างและพัฒนาทีมแต่ยังพัฒนาหลัการเรียนรู้ วิธีการหรือเทคนิคจากการดำเนินกิจกรรมด้วย 



นำเข้าสู่เกมเพื่อพัฒนาบุคลากร

1. ความสำคัญของเกมเพื่อการพัตนาบุคลากร คือ
  • เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แนะนำตัวเอง และเปิดเผยตัวเองออกมา
  • สร้างให้คนในกลุ่มรู้จักกัน คุ้นเคยกัน
  • มีความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน ที่ได้ร่วมคิด ร่วมทำกันมา
  • ส่งเสริมบรรยากาศที่ผ่อนคลายหรือเป็นมิตรต่อกัน
  • เปิดโอกาสให้ทุกคนเรียนรู้ความเชื่อมั่นและกล้าแสดงออก
2. การพัฒนาบุคลากรโดยยึดตัวผู้เรียนและผู้สอนเป็นศูนย์กลาง 

ในความแตกต่างของสองด้านนี้ คือการยึดเอาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นศูนย์กลาง การใช้เกมถ่ายทอดมีเทคนิคดังนี้

2.1 เทคนิคที่ใช้ผู้สอน หรือ วิทยากรเป็นศูนย์กลาง 
  • ให้เกิดการเรียนรู้และ มีทัศนะคติที่ถูกต้อง
  • ให้เกิดความเข้าใจ
  • มักมีการสาธิต หรือ แสดงวิธีการ
  • มักมีการทดสอบผู้เข้ารีบการอบรม (Pretest - Post test)
  • มักมีการสร้างอารมณ์ขัน
  • มีการสรุปสาระ - ประเด็นให้ทราบ
2.2 เทคนิคการใช้ผู้เข้ารับการอบรมเป็นศูนย์กลาง
  • ให้ผู้อบรมมีส่วนร่วมทางความคิดหรือ ร่างกาย
  • ใช้กิจกรรมละลายพฤติกรรมประกอบ
  • เป็นการเรียนรู้โดยการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตัวผู้เรียนเอง
  • ก่อให้เกิดความสามารถ หรือ ฝึกฝนให้ความสามารถเพิ่มมากขึ้น
  • ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ กันและกัน
  • แก้ปัญญาในการทำงานโดยการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้
3. ประโยชน์ของเกมส์เพื่อการพัฒนาบุคลากร
เพื่อนำเกมหรือกิจกรรม มาใช้ในการพัฒนาบุคลากรในรูปแบบต่างๆ ขอแจ้งถึงประโยชน์ของการนำเกมมาใช้คือ 
  • เพื่อทำความรู้จักคุ้นเคยกันเมื่อแรกพบ
  • เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนได้สนิทสนมกันเร็วขึ้นกว่าที่จะรอไปทำความรู้จักกันเอง
  • ผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมมือในการเรียนรู้อย่างเต็มที่
  • ประสบการณ์เรียนรู้จากกิจกรรมจะช่วยให้ผู้เข้าอบรมรู้จักตนเองและบอกความสนใจของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น
  • บรรยากาศการเรียนรู้สนุกสนาน ไม่ได้รู้สึกว่ากำลังถูกสอน
  • เสริมสร้างบรรยากาศเป็นมิตรต่อการฝึกอบรม และผู้เข้ารับการอบรมสามารถเรียนรู้ได้ในระยะเวลาอันสั้น
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายและไม่เสี่ยงต่อผลการตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรม
  • ส่งเสริมให้เกินความกล้าแสดงออกต่อหน้าบุคคลอื่นๆ 

Monday 2 September 2013

เกมส์ และ กิจกรรม เพื่อการพัฒนาบุคลกร

เกมส์ (Game) หมายถึง การแข่งขัน การเล่นเพื่อสนุกสนาน หรือเล่นตามกติกา หรือ หมายถึง การเล่นแข่งขัน

กิจกรรม (Activity) หมายถึง การปฏิบัติกิจด้วยตนเอง คือ เป็นชุดของการปฏิบัติการต่างๆ ที่มีการเตรียมการ วางแผนไว้เรียบร้อยแล้วโดยจะมีผลตามคามคาดหมายที่เกิดขึ้น และมีวัตถุประสงค์ของแต่ละกิจกรรม

กิจกรรมกลุ่ม (Group Discussion) หมายถึง ชุดของกิจกรรมที่ได้วางแผนและจัดเตรียมไว้สำหรับคนสองคนขึ้นไปเป็นผู้กระทำกิจกรรมหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นๆ ซึ่งกิจกรรมกลุ่มจะมีวัตถุประสงค์ของกิจกรรมได้หลายประเภท

พัฒนา หมายถึง การทำให้เจริญ ทำให้ยั่งยืนถาวร

บุคคล หมายถึง คน คนธรรมดา คนสามัญทั้วไป

บุคลากร หมายถึง ผู้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา หรือ อบรมสั่งสอน

ดังนั้น เกมส์ และ กิจกรรม เพื่อการพัฒนาบุคลกร หมายถึง การปฏติบัติกิจกรรมด้วยการเล่นหรือการแข่งขันของผู้เข้ารับการอบรม โดยมีวัถุประสงค์เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถ ทัศนคติ และจริยธรรม ในการปฏิบัติงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธภาพ และมีประสิทธิผล